Page 223 - คู่มือนักศึกษา 2558
P. 223
CPE-200 คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
(Computer Engineering Mathematics)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : MSC-105 แคลคูลัส 1
รายวิชาที่ต้องเรียนควบคู่ : ไม่มี
คณิตศาสตร์แบบไม่ต่อเนื่องและพีชคณิตเชิงเส้น เซตและพีชคณิตของเซต ตรรกศาสตร์ ทฤษฎีจ�านวน ระบบเลขฐาน ทฤษฎีกราฟิก
เบื้องต้น ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์ การแก้สมการเชิงเส้น วิธีก�าลังสองน้อยที่สุด การแปลงเชิงเส้น อนุกรมฟูเรีย ผลการแปลงลาปลาซ
CPE-201 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึม 3(2-3-6)
(Data Structure and Algorithm)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : INT-101 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
รายวิชาที่ต้องเรียนควบคู่ : ไม่มี
โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึมต่าง ๆ เพื่อการน�าไปใช้ในการเขียนโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาโครงสร้างข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ การ
ประมวลผลสายอักขระ (Strings) แถวล�าดับ (Arrays) ระเบียน (Records) ตัวชี้ (Indexes) รายการโยง (Lists) กองซ้อน (Stacks) คิว (Queues)
210 การเรียกซ�้า (Recursion) ต้นไม้ (Trees) กราฟ (Graphs) ศึกษาอัลกอริธึมแบบต่าง ๆ ได้แก่ อัลกอริธึมค้นหาข้อมูลและอัลกอริธึมการจัดเรียง
ข้อมูล การออกแบบอัลกอริธึมและวิเคราะห์การท�างานของอัลกอริธึมโดยใช้โครงสร้างข้อมูลชนิดต่าง ๆ
CPE-202 องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
(Computer Organization and Architecture)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : CPE-211 การออกแบบดิจิทัลลอจิก
รายวิชาที่ต้องเรียนควบคู่ : ไม่มี
สถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น
Thai-Nichi Institute of Technology
หน่วยความจ�า หน่วยประมวลผล หน่วยรับและแสดงผล ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบดังกล่าว หน่วยควบคุม รีจิสเตอร์ หน่วย
ค�านวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบบัส การจัดองค์ประกอบของหน่วยความจ�าหลักและ
หน่วยความจ�า สถาปัตยกรรมของชุดค�าสั่งและชนิดข้อมูล สถาปัตยกรรมแบบซิสก์และริสก์ สถาปัตยกรรมแบบสเกลาร์ แบบมัลติเทรดและ
แบบเดต้าโฟล์ว เวกเตอร์โพรเซสเซอร์และอะเรย์โพเซสเซอร์ การท�าไปป์ไลท์ โครงสร้างของคอมพิวเตอร์แบบขนาน การใช้หน่วยประมวลผล
หลายชุด การเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ต่อพ่วง
CPE-203 อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม 3(3-0-6)
(Engineering Electronics)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ENG-103 ฟิสิกส์วิศวกรรม
รายวิชาที่ต้องเรียนควบคู่ : CPE-204 ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม
ลักษณะสมบัติกระแสแรงดันของสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์ ฟิลด์เอฟเฟ็ค ไอจีบีที
ไทริสเตอร์ ยูเจที ฯลฯ วงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานส�าหรับสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การไบแอส วงจรขยาย ออปแอมป์ และการ
ประยุกต์ใช้งานในวงจรเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น ออสซิลเลเตอร์ วงจรขยายก�าลัง แหล่งจ่ายไฟตรง ความรู้เบื้องต้นทางอิเล็กทรอนิกส์ก�าลัง