Page 36 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 36
27
พระบรมมหาราชวัง
(ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
1. ด้านการเมืองการปกครอง ในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การปกครองของไทย
ยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอ านาจสูงสุดในการ
ปกครองประเทศ ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร แต่พระราชกรณียกิจของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปประเทศให้มีความเป็นสากล
ยิ่งขึ้น คือ การรวบรวมอ านาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบการปกครองเดิม ตั้งเป็นกระทรวง
ต่าง ๆ ยกเลิกระบบไพร่ และเลิกทาส ท าให้ชนชั้นกลางและชนชั้นล่างได้รับสิทธิเสรีภาพมากขึ้น
มีการรับวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่น ารูปแบบมาจากตะวันตก จึงนับได้ว่าเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่
จนสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เกิดการปฏิวัติการปกครองมาเป็น
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมาย
สูงสุดของประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญให้สิทธิและเสรีภาพแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน สามารถเลื่อนฐานะ
ทางสังคม สามัญชนมีบทบาทในการปกครองบริหารประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-
มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์
นักพัฒนาประชาธิปไตยที่มุ่งก่อให้เกิดประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ผ่านโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชด าริ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนา
แบบยั่งยืน ซึ่งเหมาะสมและสอดรับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทย
2. ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่รัตนโกสินทร์
ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้ประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่ส าคัญได้ 3 ประการ คือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้จัดตั้ง