Page 39 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 39
30
รัชสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์ วัดวาอาราม
และพระพุทธรูป มีการเปลี่ยนแปลง ด้านศิลปกรรม
เช่น การสร้างหลังคาโบสถ์ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
และการนิยมประดับกระเบื้องเคลือบชามจีน อันเป็น
ลักษณะผสมผสานแบบจีน เช่น วัดราชโอรสาราม
นอกจากนี้ ยังทรงเกรงว่าต่อไปวิทยาการต่าง ๆ ของ
ไทยจะสูญหายไป จึงโปรดให้คัดเลือกและจารึกต ารา
วิชาการต่าง ๆ รวมถึงต ารายา ต่าง ๆ ไว้ในแผ่นศิลาอ่อน ต าราแพทย์แผนไทยที่จารึก
ประดับบนเสา ผนังศาลาราย รวมถึงรูปฤาษีดัดตน เมื่อ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับเป็น (ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย”
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
การสงวนรักษาวิทยาการต่าง ๆ ของไทยได้เป็นอย่างดี
รัชสมัยรัชกาลที่ 4 หลังจากได้มีการจัดตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือธรรมยุติกนิกาย
ทรงวางระเบียบแบบแผนของพระนิกายใหม่ที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างวัด
และสร้างพระพุทธรูปที่มีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น เช่น พระสัมพุทธพรรณี พระนิรันตราย
พระพุทธอังคีรส รวมถึงพระสยามเทวาธิราช ด้วยมีพระราชด าริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์
ที่จะต้องเสียอิสรภาพหลายครั้ง แต่มีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายได้เสมอมา คงจะมีเทพยดา
ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะท ารูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการะบูชา
รัชสมัยรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงตระหนักถึงความส าคัญและคุณค่าของ
ศิลปวัฒนธรรมอันดีของไทย ทรงมีพระราชด าริให้ฟื้นฟูพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ถูกยกเลิกเมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เช่น พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ
ทรงห่วงใยปัญหาการใช้ภาษาไทย อันเป็นผลมาจากคนไทยส่วนมากขาดส านึกในคุณค่าของ
ภาษาประจ าชาติ จนคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี
เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”
5. ด้านการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ การด าเนินงานด้าน
การต่างประเทศ โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 4 และ 5 ในยุคอาณานิคมของชาวตะวันตก พระองค์ได้
ตระหนักถึงความเป็นมหาอ านาจของชาติตะวันตก การต่อต้านโดยใช้ก าลังจึงเป็นไปไม่ได้
จึงต้องใช้วิธีการอื่นแทน ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ คือ
1) การผ่อนหนักเป็นเบา โดยการยอมท าสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญา
เบาริง กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 แม้ทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้