Page 115 - SOCIETAL HAPPNESS SHAREing
P. 115
Societal Happiness SHAREing
พนักงานต่างๆ ถามผู้บริหารก็ยินดีเพราะไม่เสียค่าใช้จ่าย
เราเคยท�าโครงการเลิกบุหรี่ในสถานประกอบการกับมหาวิทยาลัย
มหิดลศาลายาพนักงานเกือบ 2,000 คน เลิกได้ 6 คน มีโครงการช่วย
ทางอ้อมเป็นการรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลกเป็นการกระตุ้นช่วยทางอ้อมให้
เกิดการเลิกบุหรี่ เราต้องให้ความรู้เขามีกิจกรรมเสริมบางคนเคยสูบบุหรี่
จะถึงวันละ 3 ซอง แม้จะไม่เข้าร่วมโครงการลดละเลิกบุหรี่แต่ก็เริ่มลด
ปริมาณการสูบลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเรื่องนี้เราสั่งสามารถสังเกตได้จากกลิ่น
รวมถึงมีการเป่าปอดซึ่งสามารถบอกได้ว่าปริมาณคาร์บอนในปอดลดลง
ก็เป็นเรื่องที่มีแนวโน้มดีขึ้น
เทคนิคส�าคัญในการท�าโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ และเหล้า คือ ให้
พยายามจับมือท�าโครงการร่วมกับโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เอาไว้เขาจะสามารถเข้ามาให้ความรู้เราได้จะช่วยเราได้มากในเรื่องของสื่อ
บุคลากร หากทางโรงงานเราเป็นคนท�าเองพนักงานมักจะไม่ฟังแต่ถ้าเอา
คนอื่นมาสอนเขาจะฟัง โดยเฉพาะในเรื่องแบบนี้เขาจะฟังคนอื่นมากกว่าเรา
ผู้บริหารที่ผ่านประสบการณ์นี้ปัจจุบันกลายมาเป็นคนต้นแบบ และเป็น
ผู้บริหารที่คอยผลักดันในโครงการลด ละ เลิกบุหรี่คอยสอบถามเสมอว่า
โครงการเป็นอย่างไร ไปถึงไหนแล้วมีคนกลับมาสูบอีกหรือไม่ หากต้องการ
ท�าเรื่องการส่งเสริมสุขภาพแล้วเราได้ผู้บริหารท่านใดท่านหนึ่งมาเป็นทีมของ
เราได้จะยิ่งดี เรามีผู้บริหารท่านหนึ่งที่ชอบเรื่องการออกก�าลังกาย กีฬา และ
กิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วย เราก็น�ามาเป็นบุคคลต้นแบบ
เวลามีกิจกรรมอะไรเราก็ไปเชิญให้เข้ามาร่วมก็จะมาร่วมทั้งหมด อันนี้ก็เป็น
เทคนิคส�าคัญในการท�าโครงการ
ส่วนคนที่เลิกได้แล้วเราก็พยายามผลักดันให้เขาเลิกได้ต่อไปบางครั้ง
เพราะเขาอยู่ในบรรยากาศที่คนสูบบุหรี่กันเยอะๆ เขาก็มีโอกาสจะกลับไป
สูบอีกเราก็พยายามตรวจสอบด้วยเครื่องมือของทางโรงพยาบาลอยู่เรื่อยๆ
อย่างเช่น ตรวจปัสสาวะหานิโคตินในปัสสาวะบางคนสูบบุหรี่มาตั้งแต่สมัย
วัยรุ่นมาเลิกเอาได้ตอนใกล้เกษียณเราก็ยกเขาขึ้นเป็นบุคคลต้นแบบมีลง
114