Page 57 - tmp
P. 57
ตัวชี้วัดคุณภาพ
เชิงคุณภาพ
การจัดกิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการใน
รูปแบบของการฝึกอบรม การเรียนทางไกล การประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมจิต
อาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่
โดยเน้นการดําเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างจิตสํานึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็น
พลเมืองดี การบําเพ็ญประโยชน์ การอนุรักษ์พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์การศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอชุมแสง ได้จัดโครงการพัฒนาสังคมและชุมชน เพื่อให้การจัดกิจกรรม
ดังกล่าวดําเนินไปตามแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง การให้
ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และได้ประชุมประชาคมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนการดําเนินงานการ
ขับเคลื่อนโครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ ร้อยละ 90 ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมที่
สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และเข้าในในระบอบประชาธิปไตย ในระดับ ดีมาก และ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. กลุ่มอาชีพได้เรียนรู้และนําความรู้ไปพัฒนาอันจะนําไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่ม
2. ประชาชนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพตนเองได้
3. ประชาชนสามารถนําความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้กับพื้นที่ให้เกอดประโยชน์สูงสุด
ปัญหาและอุปสรรค
1. เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ประชาชนจึงมาร่วมกิจกรรมน้อย
ข้อเสนอแนะ/ แนวทางการด าเนินงานต่อไป
1. การจัดกิจกรรมต้องจัดให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
เช่น ในช่วงฤดูแล้ง ไม่มีน้ําเพื่อการเกษตรและไม่เพียงพอไม่ควรส่งเสริมการปลูกผัก หรือเลี้ยงปลา ควรเน้น
ส่งเสริมอาชีพหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน
2. จัดโครงการ / กิจกรรม ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
3. ครูผู้รับผิดชอบโครงการต้องวางแผนการจัดกิจกรรมตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้เพียงพอ
และสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้
สรุปผลการดําเนินงานครึ่งปีแรก (ไตรมาส 1 – 2) ประจําปีงบประมาณ 2563 หน้า 50