Page 54 - tmp
P. 54
ตัวชี้วัดคุณภาพ
เชิงคุณภาพ
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถของบุคคล
ให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความปลอดภัยในสังคมการพัฒนา
ทักษะชีวิตเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทําให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ และสามารถนําไปบูรณาการกับการ
ดํารงชีวิตประจําวัน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอชุมแสง เป็นหน่วยงานที่จัด
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับประชาชนจึงได้จัดทํา โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ขึ้นเพื่อเพิ่ม
ศักยภาพองค์กรชุมชนและเครือข่าย ชุมชน โดยจัดอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย สุขภาพ
อนามัย การป้องกันยาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและ
สังคม ดําเนินการได้ 2 โครงการ ร้อยละ 85 ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
ในระดับ ดีมาก ทําให้กับผลลัพธ์กับผู้รับบริการ ดังนี้
1. ผู้สูงอายุมีความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ด้วยตนเอง และสามารถ
ดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปัญหาและอุปสรรค
1. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเวลามาร่วมกิจกรรม/โครงการ เนื่องจากต้องประกอบอาชีพ
2. กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ยังจัดกิจกรรมไม่ครอบคลุมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ข้อเสนอแนะ/ แนวทางการด าเนินงานต่อไป
1. การจัดกิจกรรมต้องจัดให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า และจัดตามนโยบายเร่งด่วน
2. ครูผู้รับผิดชอบโครงการต้องวางแผนการจัดกิจกรรมตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้
เพียงพอ และสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้
3. การจัดกิจกรรมเป็นโครงการระยะสั้น ครูผู้รับผิดชอบต้องวางแผนการจัดและนัดหมายระยะเวลากับ
ผู้เข้าร่วมโครงการให้มาร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่วางไว้
สรุปผลการดําเนินงานครึ่งปีแรก (ไตรมาส 1 – 2) ประจําปีงบประมาณ 2563 หน้า 47