Page 12 - wat
P. 12

ขึ้นคนหามไปทางบก เกล้ากระหม่อมไม่ยอมขึ้น ต้องเดินไปจนถึง บางราภาในเพลา ๔

               โมง ๔๐ นาที ฉันเพนแล้วลงเรือไปจนถึงวัดมุจลินทวาปีวิหาร เมืองหนองจิก  ในเพลา
               ค่ า ๑ ทุ่ม พระปลัดชุม เจ้าคณะพร้อมด้วยกรมการมาต้อนรับ ตามค าสั่งของพระยา เพ็ช

               ราภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก ให้พักอาใศรยในกุฏิใหญ่แลเลี้ยงดูตามสมควร

                        วันที่ ๑๓ พระยาเพ็ชราภิบาล มาเยี่ยมได้ปฤกษาในการศึกษาเห็นพร้อมกันว่า
               วัดมุจลินทวาปีวิหาร มีพระสงฆ์ ๑๒ องค์ ศิษย์วัด ๓๕ คน  ควรตั้งโรงเรียนได้ พระยา

               เพ็ชราภิบาลรับปลุกโรงเรียนถวายเปนของหลวง แต่ส่วนจะตั้งผลประโยชน์ให้ครูต่อไป
               เหลือก าลัง

                        ในวัดนี้ พระท่าย พระทิม สององค์นี้ เคยศึกษาหนังสือไทย เลขอย่างไทย กับ
               พระครูธรรมโมลี (กิ้มเส่ง) เข้าใจอยู่บ้างแล้ว จึงได้จัดพระท่าย เปนอาจารย์ที่ ๑ พระทิม

               เปนอาจารย์ที่ ๒ จัดโรงการเปรียญเปนโรงเรียนไปพลางก่อน เปิดการสอนในวันที่ ๑๘

               นักเรียนแรกเข้าโรงเรียน ๑๕ คน (โรงเรียนนี้ชื่อว่าเพ็ชรานุกูลกิตย์)
                        ในเวลาที่อยู่ในเมืองหนองจิกนั้น ได้สั่งสอนพระท่าย พระทิม ให้ท าเลขอย่าง

               ฝรั่งพอบวกลบคูณหารได้ โรงเรียนต าบลนี้ถ้าได้รับความอุดหนุนแข็งแรงเข้าแล้วพอจะ

               เจริญได้
                        คนภาษาไทยในเมืองนี้ดูอัทธยาไศรยค่อนข้างจะเปนสัปบุรุษมาก ในเวลา

               กลางคืนพากันมาฟังเทศน์ทุกคืน เกล้ากระหม่อมกับพระสมุห์เอียดผลัดเปลี่ยนกันเทศน์
               คนละคืน

                        ในเมืองหนองจิกว่ามีอ าเภอ ๒ อ าเภอ ก านัน ๒๑ ก านัน หมู่บ้าน ๒๕๘ หมู่
               หลังคาเรือน ๕๒๓๕ หลัง ราษฎรชายหญิง ๑๕๓๙๐ คน”

                                       (ราชกิจจานุเบกษา. ๑๑๙. ๑๖)



                        ข้อความข้างต้นได้ตัดตอนมาเฉพาะที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาใน

               เมืองหนองจิกเท่านั้น พระศิริธรรมมุนี (ม่วง) ได้มาตรวจการคณะสงฆ์และจัด
               การศึกษาทางโลก โดยเดินทางถึงวัดมุจลินทวาปีวิหาร มีพระปลัดชุม จนฺท


               สุวณฺโณ      (พระครูพิบูลย์สมณวัตร) เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม
               พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้จัดการศึกษาทางโลกขึ้นที่วัดนี้เป็นแห่งแรกในหัวเมืองปัตตานี

               เรียกว่า โรงเรียน   เพ็ชรานุกูลกิตย์ เปิดการสอนในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.


                                                 ~ ๑๒ ~
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17