Page 13 - wat
P. 13
๒๔๔๔ มีนักเรียน ๑๕ คน โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นที่ท าการสอน ให้ พระ
ท่าย (นายท่าย บุญยิ่ง) และพระทิม ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นครูสอน ในพ.ศ.
๒๔๔๕ พระท่ายได้ลาสิกขาบท เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช จึงได้ส่งพระ
ก้านจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาเป็นครู ครั้น พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ย้ายพระภิกษุ
ก้านกลับไป ส่งพระภิกษุกล่อมมาสอนแทน จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ ทางการจึงได้
ย้ายโรงเรียนออกจากวัด โดยได้สร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ แต่ยังคงให้ชื่อว่า โรง
เรียนเพ็ชรานุกูลกิตย์ ตามเดิม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อว่า “โรงเรียนวัดมุจลินทวาปี
วิหาร (เพชรานุกูลกิจ)” ปัจจุบันอยู่หน้าที่ว่าการอ าเภอหนองจิก
๒. การศึกษาทางธรรม
การศึกษาทางธรรม หมายถึง การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม อัน
ได้แก่แผนกธรรมและแผนกบาลี
แผนกธรรม
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ พระไฝ (ครูไฝ) ครูนักธรรมจากจังหวัดสงขลา
ได้มาติดต่อขอเปิดโรงเรียนนักธรรมขึ้นที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร และในปี
เดียวกันนี้ พระไฝได้เปิดสอนในจังหวัดยะลา นราธิวาสอีกด้วย
แผนกบาลี
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ เจ้าคุณพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม)
เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและภูเก็ต ได้มาตรวจการคณะสงฆ์ถึง
วัดมุจลินทวาปีวิหาร พระครูพิบูลย์สมณวัตร (หลวงพ่อชุม จนฺทสุวณฺโณ)
พร้อมด้วย คุณหญิงแข นายเพิ่ม โพธิสาขาและพระสมุห์คล้าย โอภาโส ได้
กราบเรียนความประสงค์ ขอตั้งโรงเรียนแผนกภาษาบาลี พร้อมทั้งขอ
ครูผู้สอน ท่านเจ้าคุณ ฯ มีความยินดีและอนุมัติให้ พระมหาเกต (เกตุ
ธรรมรัชชะ) ป.ธ.๓ (พระธรรมโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัดปัตตานีและอดีตเจ้าอาวาสวัด
ตานีนรสโมสร) ซึ่งเป็นพระอนุจร มีหน้าที่ช่วยจัดครูให้ในครั้งแรกและได้พระ
มหาแก้ว ป.ธ. ๔ จากจังหวัดสงขลาเป็นครู แต่ยังไม่ทันได้ส่งนักเรียนเข้าสอบ
~ ๑๓ ~