Page 10 - มนุษย์
P. 10
คำานิยม
วรรณกรรมในความหมายกว้างไกล ที่รวมงานเขียนทุกประเภทที่สื่อความหมาย
ด้วยตัวหนังสือ/ภาษา ทั้งเรื่องแต่ง(fiction) เรื่องความจริง/ข้อเท็จจริง(non-fiction)
หรือเรื่องเล่า(narrative) มีกระบวนการของการเริ่มต้นจาก หน้ากระดาษว่างเปล่ากับ
ดินสอ หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ว่างเปล่ากับแป้นพิมพ์ ซึ่งการณ์นี้อาจมองได้ 2 ทาง
คือ หนึ่ง-เป็นงานที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร เกิดจากความว่างเปล่าไร้แก่นสาร ใครๆ
ก็ท�าได้ /หรือ สอง-เป็นงานแสนมหัศจรรย์ ไม่ใช่งานง่าย และมิใช่ใครๆ ก็จะท�าได้
ทว่าในชั่วเวลาเกือบสามทศวรรษที่ข้าพเจ้าท�างานเขียนมา ข้าพเจ้าขอกล่าว
ยืนยันหนักแน่นได้ว่า วรรณกรรมนั้นเป็นงานศิลปะที่มีกระบวนการสร้างตามแนวทาง
การมองแบบที่สอง นั่นคือ มันเป็นงานมหัศจรรย์ เป็นงานยาก และผู้ซึ่งสร้างสรรค์ได้
ย่อมต้องรักความโดดเดี่ยวอย่างยิ่งและมีคุณสมบัติพิเศษบางประการ
วรรณกรรมถือเป็นวาทกรรม(discourse) อย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบสร้างด้วย
คติทางวัฒนธรรม ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ที่ถักทอเกี่ยวรัดหรือคัดง้าง
กันอยู่ภายใน เป็นทั้งร้อยแก้วหรือร้อยกรอง โดยใช้ถ้อยค�า/ประโยค/ภาษาผสมผสาน
เข้าด้วยศิลปการประพันธ์ วรรณกรรมถือเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์ เป็นบทบันทึก
อารยธรรมมนุษย์ แหละเรื่องแต่ง(fiction) ที่ประกอบด้วย บทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย นั้น
เป็นความลวง(illusion) ซึ่งประกอบสร้างจาก จินตนาการ ความจริง(real) ข้อเท็จจริง
(fact) ที่จะน�าพาผู้อ่านไปสู่สัจจะ(truth) ของชีวิต ผู้สร้างสรรค์หรือนักเขียน ย่อมมี
คุณสมบัติพิเศษทางพลังจินตนาการ ทักษะการเลือกใช้ถ้อยค�า พลังการเปลี่ยนผ่าน
แปรรูปประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์การอ่านให้กลับกลายเป็นเรื่องราวอันลึก
ซึ้ง แปลกใหม่ ไม่ผลิตซ�้าเรื่องที่คนอื่นเคยเขียนมาก่อนเก่า