Page 11 - มนุษย์
P. 11
คุณสมบัติพิเศษของนักเขียน มิใช่พลังจากสวรรค์หล่นใส่หัวมาประทานพรให้
ทว่าเกิดขึ้นได้ก็มีแต่เพียงการทุ่มเทอย่างอุทิศชีวิตจิตวิญญาณ ฝึกฝน เคี่ยวกรำา
อย่างไม่ย่อท้อต่อ ความเหนื่อยยาก อดอยาก ความต่ำาต้อยน้อยหน้านานัปประการ
ถึงแม้ว่า-โลกหลังสมัยใหม่(post-modern)อาจถือว่า มันได้ลดทอนอ�านาจ/
ความส�าคัญของนักเขียนลง โดยทุกวันนี้นั้น การตีความ(hermeneutics) งานเขียน
เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยุคเก่าได้ถือว่า นักเขียนจะก�าความหมายไว้ในมือเพียงผู้เดียวนั้น
ปัจจุบัน-มันได้ถูกถ่ายโอนอ�านาจการตีความไปไว้ในมือนักอ่านจนหมดสิ้น นักอ่าน
มีสิทธิ์จะตีความตามใจตนได้(อ่านหลายคนก็อาจตีความคนละแบบ) ดังที่ Roland
Barthes นักสัญศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้เขียนหนังสือ “มายาคติ”(Mythologies)
กล่าวว่า “la mort de l’auter” อันหมายถึง มรณกรรมของประพันธกร นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม---บทบาทการสร้างสรรค์ก็ยังมั่นคงอยู่ในมือของ ประพันธกร
หรือนักเขียน ดุจเดิม
นักเขียนจึงยังคงเป็นผู้สร้างผู้ยิ่งใหญ่ แหละยิ่งยง... ตลอดกาล
ขอชื่นชม ยกย่อง คณะครูอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
ผู้ร่วมมือผนึกก�าลังกัน ลุกขึ้นมาสร้างพื้นที่ของดอกผลและนวัตกรรมการอ่าน
การเขียนสดใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบของ ความคิดก้าวหน้าแห่งวิสัยทัศน์ทาง
วิชาการ ความรู้ของคณะครู นักเรียน ตลอดจนถึงผู้บริหารอีกด้วย
ด้วยการผลักดัน ดิ้นรน ขับเคลื่อนอย่างสวยสดงดงามมีชีวิตชีวา ก่อปรากฏ
หนังสือเล่มน้อยๆ อันยิ่งใหญ่ ชื่อ “แง่มุมความรัก” และ “มนุษย์” ออกมาโดดเด่น
ท้าทายบนบรรณพิภพ
มิใช่เพียงแค่ว่า เป็นแค่บทพิสูจน์ว่า ชาวพะเยาพิทยาคมรักหนังสือ รักวิชา
ความรู้ เพียงไร
มิใช่แค่ว่า ชาวพะเยาพิทยาคมได้ลงมือสร้างประวัติศาสตร์ ได้บันทึก
อารยธรรมมนุษย์ แค่นั้น