Page 33 - Demo
P. 33
๒) การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่ทันสมัย สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อย่าง เพียงพอ มีอุปกรณ์สําหรับฝึกอบรมภาคปฏิบัติและมีสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่ปลอดภัย มีระบบเครือข่าย (WiFi) ทั้งอาคารเรียน อาคารโรงพยาบาล และหอพักแพทย์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีระบบ Information technology (IT) ของหอสมุดวิทยาศาสตร์สุขภาพที่สามารถเข้าใช้งานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
แพทย์ประจําบ้านสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่ทันสมัยได้หลายช่องทาง ได้แก่ (๑) ผ่านทางห้องสมุดของภาควิชา มีวารสารที่เป็น hard copy คือ
- จักษุเวชสาร
- สงขลานครินทร์เวชสาร
- Evidence - Based Ophthalmology
- จดหมายเหตุทางการแพทย์
- Ophthalmology
(๒) จํานวนชนิดของวารสารทางจักษุวิทยาในห้องสมุดของคณะ/โรงพยาบาลมี ๑๔ รายการประกอบด้วย ซึ่งมีทั้ง hard copy และสามารถ download full text ได้ทาง online ประกอบด้วย
- Ophthalmology
- American Journal of Ophthalmology
- JAMA Ophthalmology
- Current Opinion in Ophthalmology
- European Journal of Ophthalmology
- International Ophthalmology Clinics
- Journal of Cataract and Refractive Surgery
- Journal of Glaucoma
- Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus
- Ocular Immunology and Inflammation
- Ophthalmic Plastic and Reconstructive Surgery
- Ophthalmologica
- Retina
- Survey of Ophthalmology
(๓) ในส่วนของอุปกรณ์สําหรับฝึกอบรมภาคปฏิบัตินั้น ภาควิชาฯ มีอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยและเพียงพอ ดังรายละเอียดในภาคผนวกที่ ๑๗
๓) การคัดเลือกและรับรองการเป็นสถานที่สําหรับการฝึกอบรม
ภาควิชาฯ มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามเกณฑ์ทั่วไปและเกณฑ์เฉพาะตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของแพทยสภา ว่าด้วยการเสนอขอเปิดเป็นสถาบันฝึกอบรมฯ พ.ศ. ๒๕๕๒ และภาควิชาได้รับการประเมินและรับรองโดย ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ระดับดีเยี่ยม
๔) จํานวนผู้ป่วยเพียงพอ และชนิดของผู้ป่วยหลากหลาย สอดคล้องกับผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั้งผู้ป่วย นอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกเวลาราชการ
แผนกผู้ป่วยนอกด้านจักษุ รพ. สงขลานครินทร์ เป็นศูนย์การรักษาและรับผู้ป่วยส่งต่อโรคทางจักษุที่ใหญ่ ที่สุดในภาคใต้ มีจํานวนผู้ป่วยต่อวัน ๓๐๐-๔๐๐ คน จํานวนผู้ป่วย ๖๗,๐๐๐ รายต่อปี มีผู้ป่วยเฉพาะโรค
หน้า%๓๓จาก๑%๕๓