Page 34 - Demo
P. 34

 ๒๖,๐๐๐ รายต่อปี มีจํานวนหัตถการทั้งสิ้นในคลินิก ๑๓๐,๐๐๐ ครั้งต่อปี ผู้ป่วยมีความหลากหลาย เครื่องมือครบ และภาควิชามีแผนพัฒนาคลินิกผู้ป่วยนอกให้รองรับกับปริมาณผู้ป่วยที่มากขึ้น โดยได้จัด ตั้ง PSU-Eye center และ ศูนย์ความเป็นเลิศ (Retina and Laser Excellent Center, RETEC) บน พื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ตร.ม. มีจํานวนผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอกเวลาราชการที่เพียงพอและหลากหลาย
๕) การเข้าถึงสิ่งอํานวยความสะดวกทางคลินิก และการเรียนภาคปฏิบัติที่พอเพียงสําหรับสนับสนุนการเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์สําหรับการเรียนรู้ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเข้าถึงได้
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเข้าถึงสิ่งอํานวยความสะดวกทางคลินิก ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้หลายช่องทาง อาทิ ระบบสารสนเทศของคณะ/โรงพยาบาล Wi-Fi ของ หอพัก สามารถเข้าถึงระบบการค้นหาข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด และ e-journal และ เครือข่ายภายใน มีการสนับสนุนโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
๖) มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ และถูก หลักจริยธรรม
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System; HIS) ซึ่งทําให้แพทย์ฝึกอบรมสามารถใช้ ในการ เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกําหนดให้อาจารย์ แพทย์ฝึกอบรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้ตามลําดับชั้นของข้อมูลโดยกําหนดรหัสส่วนตัวใน การเข้าถึงข้อมูล ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ทําให้สามารถกํากับดูแลและให้คําปรึกษาการฝึกปฏิบัติของ แพทย์ฝึกอบรมได้ตลอดเวลา ภาควิชาให้ความสําคัญกับจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยให้ อาจารย์ บุคลากร และแพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมยึดและถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๗) การจัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเป็นทีมร่วมกับผู้ร่วมงานและบุคลากรวิชาชีพอื่น ในหลักสูตรการฝึกอบรมฯ ภาควิชาได้บูรณาการการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติงานเพื่อฝึกการปฏิบัติงาน เป็นทีม ร่วมกับบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยนอก แผนกผ่าตัด หอบริ บาลผู้ป่วยใน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจําบ้านได้ปฏิบัติงานกับแพทย์แผนกอื่นๆ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่ส่วนสนับสนุนฝ่ายต่างๆ
๘) การนําความเชี่ยวชาญทางแพทยศาสตร์ศึกษามาใช้ในการจัดทําแผนการฝึกอบรม การดําเนินการฝึกอบรม การ ประเมินการฝึกอบรม
ภาควิชาฯ ได้ส่งเสริมให้อาจารย์และอาจารย์ใหม่ทุกคนเข้าอบรมด้านแพทยศาสตร์ศึกษา อบรมเชิงปฏิบัติ การด้านหลักสูตร การผลิตสื่อ e-learning ด้วยโปรแกรมต่างๆ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้าง ข้อสอบ การประเมินผลสอบ ทั้งที่จัดโดยคณะแพทย์และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อนํา ความเชี่ยวชาญมาจัดทําแผนการฝึกอบรม การดําเนินการฝึกอบรม การประเมินการฝึกอบรมในแต่ละปี การศึกษา
๙) การฝึกอบรมในสถาบันอื่น ทั้งในและนอกประเทศตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร
ภาควิชาฯ เปิดโอกาสให้มีการเข้าอมรมในสถาบันอบรมกิจกรรมเลือกทั้งในและนอกประเทศเพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ตามประกาศของภาควิชาฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเป็นสถาบันอบรม กิจกรรมเลือกของการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ ทั้งที่ส่วนกลาง (รพ.จุฬาลงกรณ์ รามาธิบดีและศิริราช)
หน้า%๓๔จาก๑%๕๓
























































































   32   33   34   35   36