Page 207 - Channels and Distribution Management
P. 207

 ภาพที่ 11.2 แสดงองค์ประกอบและกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน ที่มา : ภิญโญ อุดมโภชน์, 2567.
9.2.2 กระบวนการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Processes)
การดําเนินธุรกิจต่อการผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องมีการจัดการจัดการที่ดีเพื่อให้ การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ซึ่งการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานธุรกิจจะต้องเข้าใจถึงการจัดการจัดการ ดูแล และควบคุมหน่วยงานที่อยู่ในกระบวนการ ห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ําให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน ซึ่ง การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างขีดความสามารถทางด้านการแข่งขันและ เติบโตเข้าสู่ตลาดได้อย่างมั่นคง
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวข้องกับการควบคุมและ การประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ําไปจนถึงปลายน้ํา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระบวนการห่วงโซ่ อุปทานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ดําเนินงานจนถึงการส่งมอบให้กับผู้บริโภคคนสุดท้ายมีอยู่ ทั้งหมด 5 ส่วนดังต่อไปนี้
1. ผู้จัดส่งหรือผู้ป้อนวัตถุดิบ (Supplies)
ผู้จัดส่งหรือผู้ป้อนวัตถุดิบ เป็นบุคคลหรือองค์กรที่ทําหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ประกอบ หรือวัสดุที่จําเป็นต่อกระบวนการผลิตหรือการประกอบเป็นสินค้าสําเร็จรูป เช่น เกษตรกรที่ เลี้ยงกุ้งขาวจะนํากุ้งที่ได้เพาะเลี้ยงได้ตามขนาดที่ต้องการและตรงต่อข้อกําหนดของผู้ผลิตเพื่อเข้าสู่ กระบวนการแปรรูปเป็น กุ้งแช่แข็ง กุ้งต้ม กุ้งเนื้อ เพื่อทําการจําหน่ายทั้งภายในประเทศและ
   Channels and Distribution Management 197
  



























































































   205   206   207   208   209