Page 209 - Channels and Distribution Management
P. 209

 ภาพที่ 9.3 แสดงกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ที่มา : ภิญโญ อุดมโภชน์, 2567.
9.3 บทบาทของหน่วยงานภายในกระบวนการห่วงโซอ่ ุปทานและการกระจายสินค้า (Roles of Units for Supply Chain and Distribution Process)
การจัดการห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับการส่งมอบสินค้าและบริการเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการวางกลยุทธ์ที่มีผลต่อความสําเร็จระยะยาวขององค์กร การวางแผนและ ดําเนินการตามกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวต่อสภาวะตลาดที่ เปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน หัวข้อนี้จะพาเราไปสํารวจบทบาทของหน่วยงานภายใน การจัดการ เชิงกลยุทธ์ ช่องทางการจัดจําหน่าย และความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการโซ่อุปทานกับการจัดการ กลยุทธ์ในภาพรวม
9.3.1 บทบาทของหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน (Roles of Units in Supply Chain Process))
การดําเนินธุรกิจนั้นจะมีความเกี่ยวข้องต่อหนว่ ยงานหรือฝ่ายต่างๆ จํานวนมากแต่ การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะพบหน่วยงานหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง 7 สายงานหลัก ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิต การจัดการสินค้าคงคลงั การวางแผนอุปสงค์ คลังสินค้า การขนส่ง และการตลาดซึ่งหน้าที่ การทํางานของแต่ละฝ่ายจะมีความแตกต่างกันแต่ในการจัดการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานหลักเหล่านี้จะต้องมีการประสานงาน และเชื่อมโยงโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันนั้นซึ่ง สามารถอธิบายหน่วยงานหลักที่เป็นส่วนสําคัญต่อการจัดการจัดการห่วงโซ่อุปทานได้ดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายจัดซื้อ
ฝ่ายจัดซื้อเป็นการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ และ ทรัพยากรที่จําเป็นต่อการผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาคุณภาพของวัสดุและวัตถุดิบให้สอดคล้องกับมาตรฐานและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ลดการจมของกระแสเงินสดในคลังสินค้าจากการจัดเก็บวัสดุและวัตถุดิบที่เกิน
   Channels and Distribution Management 199
  


























































































   207   208   209   210   211