Page 235 - Channels and Distribution Management
P. 235
10.3 การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวในกระบวนการกระจายสินค้า(GreenSupply Chain Management in Distribution Processes)
ยุทธนา ธรรมเจริญ และคณะ (2561) ได้กล่าวถึงการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management) การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว หมายถึง การจัดการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการของทุกห่วงโซ่ ซึ่งรวมทั้งการจัดการวัสดุ และทรัพยากรตั้งแต่ผู้ผลิต จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย นอกจากนั้น ยังพิจารณาถึงความโปร่งใสและความซัดเจนของเจตนาอัน แน่วแน่ที่จะให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เหตุผลที่ทําให้องค์กรให้ความใส่ใจในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน สีเขียว มีดังนี้
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ต่างตระหนักถึงและให้ความสําคัญกับปัญหาและผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ บนโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น ผู้บริโภคสินค้าในหลายๆ ประเทศ ต่างก็หันมาให้ความสําคัญกับประเด็นดังกล่าว พร้อม กับตั้งคําถามต่อผู้ประกอบการเกี่ยวกับความพยายามในการปรับปรงและพัฒนาที่ยั่งยืนในการลด ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการผลิต ของเสียจากกระบวนการผลิต และกิจกรรมในโซ่อุปทานของสินค้าที่ผลิตขึ้นและส่ง ถึงมือผู้บริโภค
ความใส่ใจของผู้บริโภคในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ล้วนเป็นต้นเหตุสําคัญที่ผลักดันให้ ผู้ประกอบการผลิตและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโช่อุปทาน หันมาพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมนี้ เป็น ประเด็นใหม่ในการจัดการโซ่อุปทาน
แนวทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานสีเขียว มีดังนี้
1. กําหนดคุณสมบัติล่วงหน้าของซัพพลายเออร์
2. กําหนดประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในกระบวนการจัดซื้อ
3. บริหารผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเออร์
4. การพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในการออกแบบผลิตภัณฑ์
5. ร่วมมือกับซัพพลายเออร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นที่ปลายสุด
ของห่วงโซ่อุปทาน
6. กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ หรือ Reverse Logistics ดังภาพที่ 10.8
Channels and Distribution Management 225