Page 12 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 12
ภาคใต้ ในภาพวิถีชีวิตเป็นภาพส่วนประกอบของภาพหลัก ช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 9 จะเขียนภาพปริศนาธรรม ดังปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา และโรงมหรสพทางวิญญาณของท่านพุทธทาสภิกขุ จังหวัดสุราษฏร์ธานีซึ่งมีแนวทางการวาดภาพตามแบบอย่างของขรัว อินโข่งในจิตรกรรมฝาผนังวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยรัชกาลที่ 4 ถือว่าเป็นแนวคิดสาคัญของภาพปริศนาธรรมที่ได้สืบสานสร้างสรรค์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ภาพปริศนาธรรมของภาคใต้ ที่ปรากฏในวัดของภาคใต้ โดยจะอธิบายตามลาดับดังนี้ ช่วงแรก เป็นการศึกษาแนวคิดของภาพปริศนาธรรม แนวคิดด้านศาสนา และลัทธิความเชื่อ และแนวคิดคติความเชื่อ ในปริศนาธรรมของภาคใต้ แนวคิดในการวิเคราะห์ภาพปริศนาธรรม และแนวคิดในการสังเคราะห์ภาพปริศนาธรรม แนวเรื่องอริยสัจจ์ 4 ช่วงที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ภาพปริศนาธรรมในภาคใต้ การเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องการรับอิทธิพลทาง ความคิดของช่างหลวงภาคกลาง ช่วงที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ภาพปริศนาธรรมทั้ง 2 กลุ่ม คือ ช่วงรัชกาลที่ 1-8 และรัชกาล ที่ 9 ในด้านรูปแบบ เทคนิคเชิงช่าง เนื้อหาสาระ คติความเชื่อ การจัดองค์ประกอบศิลป์ และสัญลักษณ์ของการแสดงออก สรุปผลความเหมือนความต่างการเชื่อมโยงส้มพันธ์เชิงเหตุผลทั้งสองกลุ่ม ช่วงที่ 4 การสังเคราะห์ภาพปริศนาธรรม แนวเรื่องอริยสัจจ์ 4 แสดงวิธีคิด วิธีทา สู่โครงสร้างองค์ประกอบใหม่ แนวคิดใหม่ และมีความเป็นนวัตศิลป์ ช่วงท่ี 5 เป็นการสรุปผลการสังเคราะห์ ที่ผสมผสานหล่อหลอมแก่นสาระของการผลึกความคิด เกิดแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ เกิดเป็นรูปนัยใหม่ๆ เป็นองค์ความรู้ อันจะนาไปสู่ภาพผลงานปริศนาธรรมใหม่ ซึ่งเป็นการสืบสาน สร้างสรรค์ หลักธรรม คา สอนของพระพทุ ธเจา้ โดยผา่ นผลงานศลิ ปะ ทมี่ คี วามเปน็ สนุ ทรยี ภาพ และเปน็ การยกระดบั จติ ใจของผดู้ ชู ม และสง่ เสรมิ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
ประเด็นที่นําไปใช้ในกํารวิเครําะห์ สังเครําะห์ และสรุปผลแนวคิดใหม่ของภําพปริศนําธรรม
ปริศนําธรรม ที่พบในจิตรกรรมฝาผนัง จะแสดงภาพให้ขบคิดถึงความหมายของภาพ ซึ่งมักเห็นภาพในธรรม ที่มีข้ออุปมาอุปไมย ภาพปริศนาธรรมมักจะมีรูปแบบการเขียนรูปสืบทอดต่อกันมา จึงสามารถทาให้แน่ชัดว่าภาพนี้คือ ธรรมข้อใด (วรรณิภา สงขลา, 2534 : 98) ดังปรากฏแนวเรื่องดังนี้
ปฏิจจสมุปบําท หมายถึง มีองค์หรือหัวข้อ 12 การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกันเกิดขึ้น พร้อมกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), 2548: 340)
อสุภะ 10 หมายถึง สภาพอันไม่งาม ซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เน้นอารมณ์แห่งสมถกรรมฐาน ได้แก่ อุทธุมาตกะ วินีลกะ วิปุพพกะ วิจฉิททกะ วิกขายิตกะ วิกขิตตกะ หตวิกขิตตกะ โลหิตกะ ปุฬุวกะ และอัฏฐิกะ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), 2548: 336-337)
ธุดงค์ 13 หมายถึง องค์คุณเครื่องสลัดหรือกาจัดกิเลส ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจ จะพึงสมาทาน ประพฤติได้ เพ่ือเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อย และสันโดษ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), 2548: 341)
2