Page 47 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 47
ั
ิ
ิ
ั
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
• บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุพยานหลักฐานทางดิจิทัล เช่น อุปกรณ์
ป้องกันคลื่นวิทยุรบกวน (Faraday Bag) อลูมิเนียมฟอยล์ หรือ
อุปกรณ์อื่นที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าป้องกันคลื่นสัญญาณได้
กล่องโลหะปิดสนิท ป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
ปัจจัยต่าง ๆ เชน อุณหภูมิ ความชื้น และแรงกระแทก เป็นต้น
่
• เทปปิดผนึก สำหรับปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ของพยานหลักฐาน
ซึ่งเมื่อปิดทับแล้วจะเสียหายหากมีการเปิดหรือดึง
• สื่อบันทึกข้อมูลที่พร้อมใช้งานสำหรับเก็บสำเนาข้อมูลที่เป็น
พยานหลักฐานดิจิทัล เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Flash Drive
เป็นต้น และ Write Blocker หรือ ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์
ที่มีความสามารถในการป้องกันการเขียนข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูล
• นาฬิกาเทียบเวลา (ระหว่างกระบวนการเก็บหรือสำเนาหลักฐาน
ดิจิทัล ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเทียบเวลาของหลักฐานดิจิทัลกับ
เวลามาตรฐาน และให้บันทึกความคลาดเคลื่อนจากเวลามาตรฐาน
โดยให้บันทึกเป็นหน่วยของเวลาระดับที่ละเอียดที่สุดที่จะทำได้
นาฬิกามาตรฐานสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์สถาบันมาตรวิทยา
แห่งชาติ (http://www.nimt.or.th/main/?page_id=1443)
• คอมพิวเตอร์สำหรับงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล
• เครื่องมือสำหรับเก็บ Volatile data (ข้อมูลชั่วคราวที่มีอยู่เฉพาะ
เมื่อมีกระแสไฟฟ้า)
• เครื่องมือคัดกรองข้อมูลในหลักฐาน และเครื่องมือทำสำเนาข้อมูล
46 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน