Page 1 - สรุปองค์ความรู้ PCL โดย ดร.ประจักษ์ ศรสาลี
P. 1
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
PLC (Professional Learning Community)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประจักษ์ ศรสาลี*
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ที่ส าคัญ คือ การท าหน้าที่เป็นครูผู้ส่งเสริม สนับสนุน
ช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองให้ได้เต็มศักยภาพ และส่งเสริมให้สามารถการเรียนรู้และ
สร้างความรู้และภูมิปัญญาด้วยตนเอง ตลอดจนให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เพราะในปัจจุบัน
วิชาการและเทคโนโลยีการสื่อสาร มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนในยุคใหม่นี้
จึงต้องสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ดังนั้น ครูจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและ
สิ่งใหม่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และคอยแนะน าแนวทางการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็ก
อย่างเข้าใจพร้อมที่จะทุ่มเท ใช้ความเป็นครู ความเป็นกัลยาณมิตร ให้การสนับสนุนวิชาความรู้
ด้วยวิธีการสมัยใหม่ตามธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถของครูในยุคใหม่
อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ ครูไม่สามารถที่จะเรียนรู้และน าความรู้
ต่าง ๆ มาบอกหรือถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้ทุกเรื่องได้ แต่สิ่งที่ครูสามารถที่จะบอกนักเรียนได้ว่าข้อมูล
ใด ๆ สามารถน าไปใช้ได้หรือปรับใช้กับชีวิตจริงได้ สิ่งที่ส าคัญที่สุดที่จะหาไม่ได้จากเทคโนโลยี
สมัยใหม่ก็คือ การมีคุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรมที่ครูสอนต้องปลูกฝัง ให้เด็กเป็นส่วนส าคัญ
อันจะถูกพัฒนาไปพร้อมกับสติปัญญา เพื่อให้ความรู้แก่อนาคตของชาติอย่างถูกต้องสมบูรณ์ยั่งยืน
ต่อไป ดังนั้น ครูในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีความสามารถ มีทักษะในลักษณะภารงานที่ส าคัญ เช่น
การเป็นผู้อ านวยความสะดวก การเป็นโค้ชคอยช่วยเหลือแนะน า เน้นการตั้งค าถามเพื่อกระตุ้นให้
ผู้เรียนแก้ปัญหา ใฝ่รู้ใฝ่เรียน หรือให้ผู้เรียนตั้งค าถามได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการวางแผน
การเรียนรู้ หาค าตอบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
สิ่งต่าง ๆ ตลอดจนสามารถสะท้อนผลงานของผู้เรียนได้อย่างสร้างสรรค์ ตรงประเด็นและเพิ่มพลัง
เชิงบวก จะเห็นได้การเป็นครูในยุคปัจจุบันนี้ต้องมีหลักวิชาการ หลักความเป็นครู และต้อง
สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา แต่ปัญหาการพัฒนาครูไทยยังไม่สามารถพัฒนาครูให้
มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่วิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 ยังพบปัญหาส าคัญ เช่น
1. ผลจากงานวิจัยของสถาบัน TDRI เกี่ยวกับ การพัฒนาและอบรมครู
1.1 ไม่สอดคล้องกับความท้าทายและปัญหา
1.2 ใช้วิทยากรภายนอก
1.3 ขาดการติดตามผลและระบบสนับสนุน
1