Page 3 - สรุปองค์ความรู้ PCL โดย ดร.ประจักษ์ ศรสาลี
P. 3
อะไรบ้าง อนาคตจะเป็นอย่างไรจากการท างานนั้น ๆ หรือรู้เป้าหมายของงานที่ชัดแจ้ง ถ้าทีมงาน
ท างานร่วมกันลักษณะนี้ทุก ๆ คน ผลงานที่ได้จะสมบูรณ์แบบ จึงสามารถก้าวไปสู่ "มืออาชีพ" ได้
Learning หรือการเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้าง
ถาวรอันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ การเรียนรู้นั้น ไม่ใช่เป็นการสั่งสอนหรือ
การบอกเล่าให้เข้าใจและจ าได้เท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
อันเป็นผลจากในกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
ขั้นที่ 1 ขั้นประสบการณ์ (experience) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่
ด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้า
ไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขา
ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้เลย ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้น ย่อมจะแตกต่างกัน
บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง ในบางชนิดเป็นประสบการณ์ทางอ้อม บางชนิดเป็นประสบการณ์
รูปธรรมและบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม ที่จะน าไปสู่การท าความเข้าใจในขั้นที่ 2
ขั้นที่ 2 ขั้นท าความเข้าใจ (understanding) คือ ตีความหมายเป็นหลักการ
(concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะ
เกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจ า (retain) ขึ้น ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ
(organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่างๆ จนกระทั่งหา
ความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
ขั้นที่ 3 ขั้นความนึกคิด (thinking) ถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็น
กระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัด
ระเบียบ ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหา
ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ เป็นหัวใจส าคัญที่จะท าให้เกิดความสมบูรณ์
ของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
Community หรือชุมชน หมายถึง การรวมตัวของกลุ่มคนที่ร่วมกันท ากิจกรรมทาง
สังคมที่เป็นการสมัครใจ อาจได้รับการสนับสนุนตนเองเป็นเอกเทศ หรืออยู่ในกฎเกณฑ์ที่ก าหนด
ขึ้นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงกลุ่มความสนใจต่าง ๆ เช่น ชมรม กลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มศาสนา กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มวิชาชีพทางการศึกษา เป็นต้น
ดังนั้น Professional Learning Community หรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(ทางการศึกษา) จึงหมายถึง การรวมตัวของกลุ่มครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารการศึกษาและ
บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อร่วมมือ ร่วมใจกันเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การศึกษา ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3