Page 69 - PDCA
P. 69
รายงานการสืบเสาะความรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
ข้อมูลพรรณไม้ที่น่าสนใจ ชนิดที่ 23
ชื่อพื้นเมือง สาวน้อยประแป้ง, ว่านหมื่นปี, ช้างเผือก, ว่านพญาค่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia sp.
ชื่อวงศ์ Araceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลําต้น
สาวน้อยประแป้ง มีลําต้นทั่วไปคล้ายกับแก้วกาญจนา/เขียวหมื่นปี ลําต้นทรงกลม
ตั้งตรง และอวบนํ้า ผิวลําต้นมีสีเขียวสด และเป็นข้อถี่ที่เป็นวงสีขาวอันเกิดจากจาก
รอยแผลของใบ ต้นสาวน้อยประแป้งสามารถแตกหน่อเป็นลําต้นใหม่ที่โคนต้นได้
2. ใบ
สาวน้อยประแป้ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแตกออกเป็นใบเดี่ยวๆบริเวณปลายยอด
ของลําต้น ใบมีรูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบสอบแคบ ปลายใบแหลม แผ่นใบ
และขอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีพื้นเป็นสีเขียว และเส้นกลางใบสีเขียวอ่อนขนาดใหญ่
พร้อมมีลายสีขาวกระจายออกจากเส้นกลางใบในแนวเฉียงบริเวณของเส้นใบย่อย
3. ดอก
ดอกสาวน้อยประแป้งออกเป็นช่อที่ปลายยอด คล้ายดอกหน้าวัว เมื่อดอกบาน กาบ
หุ้มจะกางออก จนมองเห็นช่อดอกที่เป็นรูปทรงกระบอกยาว
4. ผล
เป็นผลแต่ละผลเรียงซ้อนกันแน่น ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดง
ประโยชน์
1. สาวน้อยประแป้งนิยมปลูกเพื่อประดับต้นและใบเป็นหลัก เนื่องจาก แผ่นใบ
มีขนาดใหญ่ พื้นมีสีเขียว และมีลายประสีขาวทั่วใบ ซึ่งดูแปลกตา และสวยงาม
ลายประสีขาวนี้ ถือเป็นที่มาของชื่อ สาวน้อยประแป้ง
2. สาวน้อยประแป้งนอกจากจะปลูกเพื่อประดับต้น และใบแล้ว ผู้ที่นิยมปลูกยัง
มีความเชื่อว่า เป็นพรรณไม้ที่คอยให้โชคลาภ ช่วยคุ้มครองภัย และช่วยให้ผู้ปลูก
มีอายุยืนยาว
3. นํ้ายางจากลําต้น ใบ และดอก ใช้เป็นยาพิษเบื่อสัตว์ แต่พึงระวัง หากคนกิน
อาจทําให้เสียชีวิตได้