Page 66 - PDCA
P. 66
รายงานการสืบเสาะความรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
ข้อมูลพรรณไม้ที่น่าสนใจ ชนิดที่ 22
ชื่อพื้นเมือง ว่านหางจระเข้,ว่านตะเข้,ว่านไฟไหม้,ว่านหางเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe barbadensis Miller
ชื่อวงศ์ Liliaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลําต้น
ว่านหางจระเข้เป็นไม้ล้มลุก มีลําต้นประมาณ 0.5-1 เมตร ลําต้นเป็นส่วนที่อยู่
แกนกลาง มีลักษณะข้อปล้อง มีรูปร่างทรงกลม ลําต้นสามารถแตกหน่อใหม่ได้
2. ใบ
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับซ้อนสับระหว่างกัน ใบมีความ
กว้าง 5-12 ซม. ความยาว 30-80 ซม. ใบมีลักษณะอูมและอวบนํ้า ผิวใบหรือเปลือก
มีสีเขียว ใบอ่อนมีสีขาว เปลือกใบหนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และเปลือกมีนํ้ายาง
สีเหลือง ถัดมาด้านในจะเป็นเนื้อใบที่มีลักษณะเป็นวุ้นใส วุ้นนี้ประกอบด้วยเมือก
3. ดอก
ดอกว่านหางจระเข้แทงออกเป็นช่อ ช่อดอกแทงออกบริเวณกลางต้น มีดอกย่อย
รวมเป็นกระจุกของช่อดอกที่ปลายก้าน ประกอบด้วยกลีบดอก 6 กลีบ แต่ละกลีบมี
หลายสีคละกัน ดอกว่านหางจระเข้จะบานจากล่างขึ้นบน และจะออกดอกในช่วง
ฤดูหนาว ดอกมีหลายสีและเปลี่ยนไปตามอายุดอก ได้แก่ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง
4. ผล
ประโยชน์ ผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้ง มีลักษณะเป็นเหลี่ยมแบน สีนํ้าตาล
1. ใบนํามาทําให้เป็นเนื้อวุ้น ตัดเนื้อวุ้นเป็นก้อนๆสําหรับรับประทานสด
2. เนื้อวุ้นที่ตัดเป็นก้อนๆ นํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ ได้แก่
ว่านหางจระเข้เชื่อม นํ้าว่านหางจระเข้ผสมวุ้น เป็นต้น
3. ส่วนของนํ้ายาง ใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ ยาถ่ายอย่างแรง หรือ ที่
เรียกว่า ยาดํา
4. ใช้เป็นยาสมุนไพรในการใช้ภายในและภายนอก เช่น การใช้นํ้ายางหรือการ
รับประทานสดเพื่อเป็นยาระบาย