Page 6 - P_Sarn SKR12 Y4 V.4 July-Sep 62
P. 6

รู้ทัน ป้องกันโรค















                                                     โรคไข้ฉี่หนู









           งด ลด เลี่ยง ลุย น้ำาด้วยเท้าเปล่า







          โรคเลปโตสไปโรสิส หรือ โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสไปโรขีต
          ขนาดเล็ก สายพันธุ์ก่อโรค เช่น Leptospirainterrogans สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดติดเชื้อได้แต่อาจมีอาการ
          ป่วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณเชื้อที่ได้รับ


          การติดต่อของโรค

          เชื้อเลปโตสไปราสามารถติดต่อมาสู่คนได้โดย
            • ทางตรง จากการสัมผัสกับอวัยวะที่ติดเชื้อของสัตว์ที่ป่วยหรือ

              เป็นสัตว์รังโรค
            • ทางอ้อม  จากการสัมผัสกับน้ำาหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อกับปัสสาวะของ
             สัตว์ โดยเชื้อจะไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยแผลหรือเยื่อบุ เช่น ตา จมูก
             ปาก นอกจากนี้ยังติดต่อผ่านทางการกินอาหารหรือน้ำาที่ปนเปื้อนเชื้อ

          อาการของโรค

              เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 10 วัน (5-14 วัน) หลังจาก
          ติดเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกัน ขึ้นกับสายพันธุ์ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ
          และความสามารถของร่างกายในการต่อต้านเชื้อ
              ผู้ป่วยที่มีอาการของระยะแรกมักมีไข้เฉียบพลัน  หนาวสั่น  ปวดกล้ามเนื้อ
          โดยเฉพาะที่กล้ามเนื้อหลัง โคนขา และน่อง ปวดศีรษะรุนแรง ตาแดง
         คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีภาวะไตวาย
         หายใจล้มเหลว หรือเลือดออกผิดปกติตามอวัยวะต่างๆ เช่น อาเจียนเป็นเลือด

         ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำา ไอเป็นเลือดสด และอาการดีซ่าน ฯลฯ

          ปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต

          เมื่อมีอาการป่วยระยะแรกผู้ป่วยมักจะ
            - ไปพบแพทย์ที่คลินิก (ร้อยละ 50)
            - ซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานเอง (ร้อยละ 40)
            - เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบล (20)
            - เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น (ร้อยละ 10)


           6
   1   2   3   4   5   6   7   8