Page 7 - P_Sarn SKR12 Y4 V.4 July-Sep 62
P. 7

รู้ทัน ป้องกันโรค



          กลุ่มเสี่ยง


            กลุ่มวัยทำางาน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำานา ทำาสวน (สวนผลไม้
          สวนยางพารา สวนปาล์ม) หาปลาในแหล่งน้ำาธรรมชาติที่มีเชื้อปนเปื้อน
          คนเลี้ยงสัตว์ ผู้ที่ประสบอุทกภัยหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำาท่วมขัง นักท่องเที่ยว
          ที่เดินลุย/ว่ายน้ำาในจุดเสี่ยง คิดเป็น ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด

          พฤติกรรมเสี่ยง

          ไม่สวมรองเท้าบู๊ทเมื่อต้องลุยน้ำาหรือสัมผัสน้ำาเป็นเวลานาน
          สัมผัสแหล่งน้ำาบ่อยครั้งหรือแช่น้ำาเป็นเวลาหลายชั่วโมง
          มีบาดแผลที่ผิวหนังและอยู่ในพื้นที่น้ำาท่วมขัง

          ไข้ฉี่หนูป้องกันได้

              1.  หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำาย่ำาโคลนที่ชื้นแฉะ หากจำาเป็นต้องเดิน
          ลุยน้ำา ควรสวมรองเท้าบู๊ทหรือถุงพลาสติกสะอาดที่หาได้ในพื้นที่ ป้องกัน
         ไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำาหรือดินโดยตรง
             2.  หมั่นล้างมือด้วยน้ำาและสบู่บ่อยๆ และอาบน้ำาชำาระร่างกายทันที
         หลังจากเสร็จจากการทำางานหรือลุยน้ำา
             3.  หลีกเลี่ยงการลงแช่น้ำาที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมทั้งการใช้

         แหล่งน้ำาร่วมกับสัตว์ เช่น โค กระบือ
             4.  ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หากต้องเก็บไว้ขอให้ปิด
         อาหารและน้ำาดื่มให้มิดชิดเพื่อไม่ให้หนูมาปัสสาวะรดได้
             5.  กำาจัดขยะให้ถูกต้องไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้



















          ประชาชน ยึดหลัก 4 ลด ปลอดภัยจากโรคไข้ฉี่หนู

             1. ลดหนู              โดยการกำาจัดหนู และทำาความสะอาดบ้านเรือน
             2. ลดสัมผัส           หลีกเลี่ยงการลงน้ำาที่เป็นจุดเสี่ยง หากจำาเป็นต้องลุยน้ำาย่ำาโคลนควรสวมรองเท้าบู๊ท

              3. ลดการเสียชีวิต  หากมีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องหรือโคนขา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
              4. ลดการระบาด  เมื่อพบผู้ป่วยรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อทำาการสอบสวนควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาด

              หากผู้ป่วยไปพบแพทย์เร็ว ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเสียชีวิตได้

          การป้องกันการเสียชีวิต

              ผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็ว หากพบอาการสงสัยโรคไข้ฉี่หนู (มีไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่อง
          หรือโคนขา หลังจากมีการลุยน้ำา/แช่น้ำา/ย่ำาโคลน)

              แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว ให้การรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม

                                                                                                                7
   2   3   4   5   6   7   8