Page 156 - e-book Health Knowledge Articles
P. 156

ภัยสุขภาพ.....จากหมอกควัน


                     หมอกควันเป็นการสะสมของควันหรือฝุ่นละอองในอากาศ จัดเป็นมลพิษทางอากาศอย่าง
               หนึ่ง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน คือ การบุกรุกเผาทำลายป่าไม้เพื่อประโยชน์ของ
               บุคคลและกลุ่มบุคคล และการเผาที่มีมากเกินไปจนควบคุมไม่ได้ ประกอบกับการเผาเศษวัสดุทาง

               การเกษตร เพื่อเตรียมพื้นที่ในการทำการเกษตรในฤดูกาลต่อไป รวมทั้งการเผาเพื่อกำจัดขยะ
               บริเวณชานเมืองและในตัวเมืองก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันได้เช่นกัน
                     หมอกควัน มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น
               ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ความเป็นอันตรายของฝุ่นละอองต่อสุขภาพ

               ขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ ความเข้มข้น และระยะเวลาที่สัมผัส รวมทั้ง
               สภาพร่างกายของผู้รับแต่ละคนด้วย ฝุ่นควันหรือฝุ่นขนาดที่เล็กกว่า 10 ไมครอน ที่เกิดจากการ
               เผาไหม้จะส่งผลกระทบ ทำให้มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง อาการทางตา
               โดยเฉพาะหายใจเอาฝุ่นเข้าไปยังปอดในถุงลม เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ทำให้เม็ดเลือดขาวเข้า

               ไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมนี้ เกิดการอักเสบในหลอดเลือด ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอด เช่น การ
               อักเสบของถุงลมปอด และบางรายอักเสบมากจนทำให้เกิดการหายใจลำบากจนถึงขั้นวิกฤต หรือ
               อาจทำให้หลอดเลือดหัวใจอักเสบได้ ซึ่งฝุ่นหมอกควันที่เกิดจากการเผาไหม้ เมื่อร่างกายได้รับจะ
               มีอาการเช่นเดียวกับการได้รับฝุ่นหมอกควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การป้องกันและดูแลตนเอง

               เพื่อให้ปลอดภัยจากฝุ่นหมอกควัน ดังนี้
                     1.  เมื่อมีหมอกควันเกิดขึ้น ควรปิดประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันไม่ให้หมอกควันลอยเข้าสู่
                         บ้าน
                     2.  หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องออกจากบ้าน ก่อนออกจาก

                         บ้านควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันการระคายเคืองตา และสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน
                         ฝุ่นละอองที่เหมาะสม
                     3.  หลีกเลี่ยงการสูดดมละอองควันไฟเข้าสู่ร่างกายโดยตรง และลดปริมาณการสูดดมพิษ
                         จากฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย หากมีอาการผิดปกติหลังจากสูดดมฝุ่นละอองหมอกควัน

                         เช่น แน่นหน้าอก หายใจติดขัด แสบตา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
                     4.  ในช่วงที่มีสถานการณ์หมอกควัน ควรงดการรองน้ำฝนมาใช้เพื่อการอุปโภคชั่วคราว
                     5.  หลีกเลี่ยงการเผาขยะหรือวัสดุใด ๆ รวมถึงการสูบบุหรี่ที่จะเป็นการเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น

                     6.  หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใด ๆ หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในบริเวณกลางแจ้ง
                     7.  หากขับขี่ยานพาหนะในช่วงที่มีหมอกควันควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

                                                                                           150
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161