Page 26 - วรรณกรรมมัธยม
P. 26
เป็นที่ศรัทธำ
ก่อนวันเข้าพรรษาจะมีประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา ที่เริ่มต้นมีตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล
ชาวพุทธยึดถือกันเป็นประเพณีน าเทียนไปถวายพระภิกษุสงฆ์เพื่อให้ท่านได้ใช้ในระหว่างเข้าพรรษา และ
มีความเชื่อกันว่าการถวายเทียนนั้น เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบ มีชีวิตที่
สุขสว่าง ประดุจแสงสว่างของดวงเทียน สถานที่ราชการหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะโรงเรียนต่างๆ จึงจัด
กิจกรรม หล่อเทียนพรรษาขึ้นเพื่อให้คณะครู อาจารย์ บุคลากรในโรงเรียน และนักเรียนทุกคนได้เข้ามามี
ส่วนร่วมในการหล่อเทียนพรรษา โดยในภาคเช้าจะนิมนต์พระมาเทศน์เล่าถึงประเพณีหล่อเทียนพรรษา
และให้ศีลให้พร จุดประสงค์หลักที่ส าคัญ คือ การปลูกฝังให้นักเรียนได้เห็นถึงประเพณี วิถีชีวิตของชาว
พุทธและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ควรปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนเป็นแบบแผน ร่วมกันท ากิจกรรมที่ดีงามจน
เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพุทธต่อไป ก่อนถึงวันเข้าพรรษาก็จะมีกิจกรรมแห่เทียนพรรษาที่ได้รับการ
ตกแต่งแกะสลักและประดับด้วยดอกไม้สดสวยงามรวมถึงขบวนกลองยาวและนางร าในขบวนที่สวยงาม
ศิลปะ การฟ้อนร าที่นิยมมาใช้ประกอบการแสดงในขบวนแต่ละท้องถิ่นก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่
ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภาคที่ดัดแปลงมาจาการประกอบอาชีพและวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นนั้น
เช่น ภาคอีสานก็จะมีร าเซิ้งชื่อต่างๆ ภาคเหนือก็จะเป็นการฟ้อนเสียส่วนใหญ่ ส่วนจังหวัดปทุมธานีอยู่
ภาคกลางก็จะเป็นร า คล้ายร าวงมาตรฐานมาประยุกต์และมีการร าฟ้อนมอญ ดัดแปลงไปบ้างให้สวยงาม
เทศบาลนครรังสิต มอบหมายให้โรงเรียนในสังกัด น าเทียนไปถวายยังวัดต่างๆ ดังนี้ วัดที่ 1 คือวัดแสงสรรค์
ตั้งอยู่ที่ถนนเลียบคลอง 2 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี วัดนี้ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนที่มี ขนาดใหญ่
ตั้งหลังคาซ้อนชั้น ตกแต่งลวดลายช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ลายหน้าบันปูนปั้นอย่างงดงาม จัดวางผังเป็น
รูปสี่เหลี่ยมมีก าแพงแก้วล้อมรอบตกแต่งเป็นปูนกลิ้งหัวเม็ด บานประตูหน้าต่างแกะสลักลวดลาย
เทพทวารบาลและภาพเรื่องทศชาติชาดกถือได้ว่าเป็นวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และมีคุณค่าทางศิลปะที่งดงาม
เป็นอย่างยิ่ง วัดที่ 2 คือ วัดคลองหนึ่ง เป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วเป็นวัดที่โรงเรียนของเราได้มา
ใช้ท ากิจกรรม เช่น น าเด็กนักเรียนมาพัฒนาวัด มาเวียนเทียน ในวันส าคัญทางพุทธศาสนา พระอุโบสถ
วัดคลองหนึ่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนท าหลังคาซ้อนชั้น ชายคาท าเสารับระเบียง มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
แต่สัดส่วนรูปทรงมีความงดงามหน้าบันปั้นลวดลายก้านขดพร้อมอัญเชิญตราสัญลักษณ์ ฉลองศิริราชสมบัติ
ครบ 50 ปี มีซุ้มประตู 4 ทิศ ตั้งเสาหงส์ไว้ด้านหน้าพระอุโบสถ อิทธิพลทางศิลปะ การสร้างเสาหงส์ของวัด
จากชุมชนมอญในอดีต นอกจากนั้นภายในอุโบสถยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติตอน
ต่างๆ ตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพาน เป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลปัจจุบัน รูปแบบและเทคนิคเป็นแบบ
สมัยใหม่จัดภาพเป็นช่องๆ สวยงาม วัดที่ 3 วัดจันทรสุข มีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะได้แก่
หอปฏิบัติวิปัสสนาสมเด็จพุฒาจารย์ เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกระเบื้องทรงไทย สร้างด้วยไม้สักเป็นหมู่
เรือนไทย ตกแต่งลายหน้าจั่วซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่างเป็นลวดลายแกะไม้อย่างงดงามเจดีย์ทรงระฆังคว่ าเป็น
อาคารที่ก าลังก่อสร้างมีรูปทรงสัดส่วนเป็นสถาปัตยกรรมสมัยปัจจุบันสวยงาม วัดที่ 4 วัดซอยสามัคคี
(วัดธรรมสุขใจ) วัดซอยสามัคคี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดธรรมสุขใจ ตามชื่อเดิมนั้นตั้งอยู่เลขที่ 101
หมู่ 12 ต าบลคูคต อ าเภอล าลูกกาจังหวัดปทุมธานี นายผาด นางสมหมาย น้อยไม้ ได้จดทะเบียนถวาย
ที่ดิน เป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2531 แก่ท่านพระมหาประเสริฐ กิตฺติเสฎโฐ
26