Page 17 - test ebook1
P. 17
ออกจากกัน โดยยึดเอาพื้นที่เป็นที่ตั้งแห่งความส าเร็จในการท างานร่วมกันของทุกฝ่าย เช่น
เครือข่ายประชาคม อ.แม่สอด จ.ตาก เครือข่ายลุ่มแม่น ้าปิง เครือข่ายอ่าวปัตตานี และเครือข่าย
ป่าชุมชนภาคเหนือ
2) เครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม ( Issue network ) ได้แก่ เครือข่ายที่ใช้ประเด็น
กิจกรรม หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยหลักในการรวมกลุ่มองค์กรโดยมองข้ามมิติเชิงพื้นที่
มุ่งเน้นการจัดการในประเด็นกิจกรรมนั้น ๆ อย่างจริงจังละพัฒนาให้เกิดความร่วมมือกับ
ภาคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายธนาคารหมู่บ้าน เป็นต้น
3) เครือข่ายแบ่งตามโครงสร้างพื้นที่ ได้แก่ เครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยอาศัยภารกิจ / กิจกรรม
และการก่อตั้ง ของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมเป็นแนวทางในการแบ่งเครือข่าย ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น
เครือข่ายภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชนและภาคองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเครือข่าย
ต่าง ๆ ดังกล่าว มุ่งเน้นการด าเนินการ ภายใต้กรอบแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ และ
เป้าหมายหลักของหน่วยงานหรือโครงสร้างหลักของหน่วยงาน หรือโครงสร้างหลักของกลุ่ม
ผลประโยชน์นั้น ๆ ซึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มผลประโยชน์ได้ 4 ภาคส่วนดังนี้
- เครือข่ายภาครัฐ เช่น เครือข่ายสถาบันการศึกษา , เครือข่ายองค์กรอิสระภาครัฐ
- เครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน เช่น เครือข่ายหอการค้า , สภาอุตสาหกรรม ฯลฯ
- เครือข่ายองค์กรพัฒนาภาคเอกชน เช่น เครือข่ายเพื่อนตะวันออก , เครือข่ายมูลนิธิ
YMCA ฯลฯ
- เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน เช่น เครือข่ายปราชญ์อีสาน , เครือข่ายสมัชชาคนจน
ในขณะเดียวกันที่ สัมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ (2537.น89.)* กล่าวถึงลักษณะของ
เครือข่ายว่า อาจจ าแนกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. เครือข่ายความคิด เป็ นเครือข่ายที่เน้นการท างานด้วยความคิด ความรู้ หรือ
เทคนิคต่าง ๆ เครือข่ายเหล่านี้ เป็นแหล่งที่ผู้น าได้มีโอกาสเปิ ดเผยแนวคิดของตนและ
ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนกับคนอื่น ๆ ท าให้เกิดความคิดที่ชัดเจนขึ้น
2. เครือข่ายกิจกรรม เป็นเครือข่ายที่เน้นความช่วยเหลือร่วมมือกันในการท ากิจกรรม
ส่วนมากมักจะเป็นเครือข่ายภายในชุมชนที่สมาชิกของเครือข่ายมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือในการ
ท ากิจกรรมร่วมกัน
3. เครือข่ายสนับสนุนทุน เป็นเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนทุนแก่เครือข่ายอื่น ๆ ในการ
ด าเนินงาน ซึ่งอาจจะเป็นทั้งกลุ่มทุนภายในเครือข่าย และภายนอกเครือข่าย
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 12