Page 274 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 274
๑๐๙ ธรรมะบรรยาย
ท่านเจ้าคุณ พระราชปัญญาวชิโรดม
๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๔
เป็นที่น่าปลื้มใจอย่างยิ่ง ที่เราได้ทั้งได้สวดพระอภิธรรมถวายท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระ
ญาณวชิโรดม หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ผู้ที่มีพระคุณอันอย่างใหญ่หลวง ไม่ใช่เฉพาะชาวไทย
่
หมายถึงชาวโลกด้วย ท่านได้สร้างประโยชน์มากมาย ท่านมาต่อยอด คำวา “ต่อยอด” หมายความ
ว่า เมื่อท่านอายุ ๑๓ ปี ท่านไปวัด ก็ได้ไปนั่งอยู่กับเพื่อน หลวงปู่กงมาเห็น โอ้ ผู้ชายมานั่งกับผู้หญิง
่
ได้อย่างไร ท่านก็ตกใจเข้าไปนั่งมุมของศาลา ท่านก็บ่นในใจวา ไม่มาอีกแล้ว ไม่มาอีกแล้ว ไม่มาอีก
แล้ว บ่นไปเสียงหายไป ๆ เข้าสู่สมาธิลึก และก็ถอดกายทิพย์ออกมาเดินออกจากร่างกายหยาบ
แล้วหลวงพ่อก็รู้สึกว่าในกายทิพย์ หูทิพย์ ตาทิพย์ มองทะลุปุโปร่งไปหมด และก็มีความรู้สึกว่ามัน
เย็น มันสบาย ก็เลยระลึกถึงว่าคุณของพระพุทธศาสนามีมากมายขนาดนี้เชียวหรือ ยืนรำพึงรำพัน
อยู่ด้วยความเอิบอิ่ม เบิกบานใจ ๔ ชั่วโมงแป๊บเดียวท่านว่าอย่างนี้ และก็เดินกลับมาร่าง เพราะว่า
หลวงปู่กงมาบอกว่า “โยมที่ตามต่อมนต์ หมดเวลาแล้ว เที่ยงคืนแล้ว กลับบ้านได้” หลวงปู่กงมาพูด
ั
อยู่ที่ศาลา หลวงพ่อออกจากร่างกายหยาบเดินออกไปข้างนอก หูทิพย์ดูสิ ฟงอยู่สิหูทิพย์ ได้ยินกาย
หยาบพูด หลวงปู่กงมาใช้กายหยาบพูด แต่หูทิพย์ของหลวงพ่อได้ยิน พอได้ยินแล้วก็เดินกลับมาสู่
ร่างเห็นตัวเอง นั่งอยู่ท่านก็เข้าร่างของท่านแล้วก็ไปขอคำแนะนำจากหลวงปกงมาว่า “ที่ผมเป็น
ู่
อย่างนี้ มันหมายถึงอะไร” หลวงปู่กงมาบอก “โอ้โฮ เด็กชายวิริยังค์นี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลย
เธอมีบุญเก่ามากนะ เขาทำกันมา ๑๐ ปียังไม่ได้อย่างเธอเลย หรือตลอดชีวิตก็ไม่ได้อย่างนี้ แสดงว่า
เธอมีบุญเก่าเยอะ” นี่แหละที่หลวงพ่อมาต่อยอด
จากวันนั้นมา หลวงพ่อก็ได้มีจิตใจใฝ่ที่จะบวชอยู่เรื่อย และท่านก็ได้บวช พอบวชท่านก็ได้
สร้างบุญบารมีอย่างมาก ไม่เคยหยุดเคยหย่อนเลย สร้างวัดก็เยอะแยะ สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็
เยอะแยะ สร้างสถาบันชนาพัฒน์ คือศูนย์ฝึกออกแบบแฟชั่นและดีไซน์ภายในให้แก่คนไทยได้มา
เรียน แต่ว่าเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล คนต่างชาติก็มาเรียนเพราะครูมาจากอิตาลี นอกจากนี้ท่านก็
เปิดสอนสมาธิทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และก็ภาษาเยอรมันนี ภาษาสเปน ภาษาอิตาลี
ภาษาญี่ปุ่น และก็ภาษาโปรตุเกส ท่านบอกว่าท่านแปลไปประมาณ ๑๐ ภาษา อินโดนีเซียก็แปล นี่
คือท่านเกิดมาต่อยอดและก็สร้างประโยชน์ต่อโลกอย่างมาก
๒๗๔