Page 27 - รายการดูงานญี่ปุ่นฉบับสมบูรณ์
P. 27

26

                                  กำรอนุรักษ์ ฟื้นฟู และกำรสร้ำงภูมิทัศน์เมืองเกียวโต


                           เทศบาลเมืองเกียวโตได้จัดท าแผนภูมิทัศน์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติมในเดือน

               กันยายน พ.ศ. 2550 ตามพระราชบัญญัติภูมิทัศน์ เพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองเกียวโต แผนภูมิทัศน์นี้อยู่ใน

               ย่อหน้าที่ 2 ของมาตรา 8 ในพระราชบัญญัติภูมิทัศน์ (Landscape Act) ซึ่งได้นิยามแนวคิดการบริหารภูมิทัศน์

               ขององค์กรที่เป็นหน่วยงานสร้างภูมิทัศน์ให้น่าชม และก าหนดมาตรฐานส าหรับการปฏิบัติในพื้นที่ที่ก าหนด โดย

               แผนภูมิทัศน์ดังกล่าวประกอบด้วยนโยบายดังต่อไปนี้

               1. กำรสร้ำงภูมิทัศน์ต้องกลมกลืนกับกับธรรมชำติ

                           การอนุรักษ์ภูมิทัศน์ต้องพิจารณาพื้นฐานของโครงสร้างธรรมชาติ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของ

               พื้นที่ แล้วพัฒนาสภาพแวดล้อมในเมืองให้กลมกลืนกับธรรมชาติ โดยการปรับปรุงพื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์ริมน้ า


               2. กำรสร้ำงภูมิทัศน์ที่เน้นควำมกลมกลืนระหว่ำงวัฒนธรรมดั้งเดิมและวัฒนธรรมใหม่

                           ในขณะที่ด าเนินการการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์นั้น การสร้างภูมิทัศน์ที่ดีที่สุด

               ส าหรับยุคสมัยใหม่ก็มีความส าคัญ ดังนั้นควรสร้างภูมิทัศน์ใหม่โดยใช้นวัตกรรมทางความคิดให้มีรูปลักษณ์ใหม่ของ

               เมืองเกียวโต แต่กลมกลืนกับภูมิประเทศแบบดั้งเดิม


               3. กำรสร้ำงภูมิทัศน์ที่ประกอบด้วยควำมเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ต่ำงๆ ที่หลำกหลำย

                           การสร้างพื้นที่ต่างๆ ต้องมีเอกลักษณ์ของตนเอง เน้นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น (local

               characteristics) ที่เน้นวิถีชีวิตและกิจกรรมของผู้คนในพื้นที่ การเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้จะท าให้เกิดภูมิทัศน์

               เมืองที่เหมาะสมของเกียวโต


               4. กำรสร้ำงภูมิทัศน์ที่ให้พลังแก่เมือง

                           ภูมิทัศน์ที่น่าชมจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเมืองเกียวโต สร้างก าลังการขับเคลื่อนเมืองทั้งการรักษาและ

               การเพิ่มพลัง ที่ดึงดูดประชากรและผู้มาเยี่ยมเยือน ส่งผลต่อโอกาสการลงทุนเรื่องการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเชิง

               ความรู้และอุตสาหกรรมท้องถิ่น

               5. กำรสร้ำงภูมิทัศน์จำกควำมร่วมมือของประชำกร ภำคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                           เมืองควรส่งเสริมแนวคิด “ภูมิทัศน์เป็นสมบัติของทุกคน (landscape being everyone’s
               property)” และสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความเป็นเจ้าของภูมิทัศน์ของเมืองของพวกเขา เพื่อแบ่งปัน

               ความรู้สึกของค่าในชุมชนของพวกเขา องค์กรต่างๆ ได้แก่ ประชาชน ภาคเอกชนและรัฐบาลจะรักษาคุณค่าของ

               ทิวทัศน์เมืองเกียวโต และพยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่ดีภายใต้บทบาทของตนเอง
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32