Page 33 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 33

23


                              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญา

                  สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถแก้ไข
                  วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภัยพิบัติหลายครั้ง แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้

                  พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่ประชาชน ทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน การฟื้ นฟู

                  สภาพแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง น าความสงบร่มเย็นมาสู่พสกนิกร
                         2.  ภูมิปัญญาไทยสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ

                             คนไทยในอดีตมีความสามารถเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็น

                  นักมวยที่มีฝีมือ  ถือว่าเป็นศิลปะชั้นเยี่ยมเป็นที่นิยมในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทย

                  ทั่วโลกไม่ต ่ากว่า 30,000 แห่ง ใช้กติกาของมวยไทย การไหว้ครูก่อนชกถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยที่
                  โดดเด่น นอกจากนี้ยังมีมรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรมที่มีความไพเราะจนได้รับการแปลเป็น

                  ภาษาต่างประเทศหลายเรื่อง มรดกภูมิปัญญาด้านอาหารไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

                  เช่นเดียวกัน












                                                            ภาพจาก nattafishing.exteen.com                                           ภาพจากwww.212cafe.com
                         3.  ภูมิปัญญาไทยสามารถปรับประยุกต์หลักธรรมค าสอนทางศาสนามาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่าง

                  เหมาะสมคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม
                  รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้ส านึกผิด ด ารงชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข คนในชุมชนพึ่งพากัน

                  ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมค าสอนทางศาสนา และสามารถด าเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ

                  จนท าให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นผู้น าทางศาสนาและเป็นที่ตั้งส านักงานใหญ่องค์การ

                  พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) ตั้งอยู่เยื้องกับอุทยานเบญจสิริ กรุงเทพมหานคร
                         4.  ภูมิปัญญาไทยสร้างสมดุลระหว่างคนในสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

                                      ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องการยอมรับนับถือและการให้ความส าคัญแก่คน สังคม

                  และธรรมชาติอย่างยิ่ง สิ่งที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมีมากมาย เช่น ประเพณีไทยซึ่งมีตลอดปีทั้ง 12
                  เดือน ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติ เช่น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ท าให้ฤดูร้อน ซึ่งมีอากาศ

                  ร้อน ภูมิปัญญาไทยจึงมีวิธีคลายร้อนโดยการรดน ้าด าหัว ส่วนประเพณีลอยกระทง มีคุณค่าอยู่ที่การบูชา
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38