Page 77 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 77
67
มนุษย์แต่ละคนมีความรู้และปัญญาแตกต่างกันออกไป เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น
สภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ พื้นฐานการศึกษารวมทั้งความสามารถของสมองเอง ก็ท าให้มนุษย์ คิดหรือมี
ความรู้ที่แตกต่างกัน
ความรู้จากการปฏิบัติเป็นความรู้ที่ท าให้มนุษย์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา และการปฏิบัติก็ท าให้
มนุษย์เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้จนเกิดความช านาญสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาในสิ่งที่ตนเองต้องการได้
ถือว่าเกิดปัญญาหรือสร้างองค์ความรู้ให้กับตัวเอง
ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย การที่จะด ารงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงต้อง
มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาต่อ
ยอดให้กับตนเองนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นเป็นการแสวงหาความรู้ที่ทันสมัยสอดคล้องกับ
สภาวะปัจจุบัน หากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ท าให้เรามีความรู้มากขึ้นถือว่ามีการยกระดับความรู้
นั่นเอง รู้แล้วแต่ยังไม่ครอบคลุมและอาจไม่ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์การเรียนรู้เพิ่มเติมจึงถือว่าเป็นการ
ยกระดับความรู้ให้กับตนเอง
หัวใจของการจัดการความรู้ คือ การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้นการด าเนินการ
จัดการองค์ความรู้อาจต้องด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. การก าหนดความรู้หลักที่จ าเป็นหรือส าคัญต่องาน หรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมงานของตน
5. การน าประสบการณ์จากการท างาน และการประยุกต์ใช้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด
ขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้
6. การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” ส าหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุด
ความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึก และเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากขึ้น
เรื่องที่ 6 การจัดท าสารสนเทศเผยแพร่องค์ความรู้
สารสนเทศการจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนางาน พัฒนาคน หรือพัฒนากลุ่ม ซึ่งอาจจัดท าเป็นเอกสารคลังความรู้ของกลุ่ม
หรือเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซด์ เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และน ามาใช้ประโยชน์ในการท างาน