Page 10 - งารวารสาร 5/6
P. 10
ทรงราชย์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จ
สวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นที่คาดหมายว่าพระองค์จะสืบราชสมบัติต่อ
ทั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่า จะเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์
ใหม่ แต่ทรงขอผ่อนผัน เนื่องจากทรงต้องการร่วมทุกข์โศกกับปวงชนชาวไทย จนกว่า
จะผ่านพระราชพิธีพระบรมศพไประยะหนึ่งก่อน
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้ส าเร็จราชการแทนพระองค์โดย
ต าแหน่งไปพลางก่อน
จนกระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดประชุมวาระพิเศษ โดยนาย
พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แจ้งหนังสือหนังสือด่วนที่สุดที่
นร.0503/44549 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ได้รับจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์
โอชา นายกรัฐมนตรี ให้แก่ที่ประชุมเพื่อรับทราบ ก่อนอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์
และพระองค์ได้ทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์] จากนั้นวันที่ 1 ธันวาคม จึงพระราชทานพระ
ราชวโรกาสให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้ส าเร็จราชการแทนพระองค์ พรเพชร วิชิตชล
ชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายบริหาร และวีระพล ตั้งสุวรรณ
ประธานศาลฎีกาประมุขฝ่ายตุลาการ เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้กราบบังคมทูลเชิญขึ้นสืบราชสมบัติ จากนั้นพระองค์มี
พระราชด ารัสตอบรับการขึ้นทรงราชย์
ทั้งนี้ ในทางนิตินัยถือว่าได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 13
ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งยัง
สอดคล้องกับคตินิยมในนานาประเทศที่ราชอาณาจักรย่อมไม่ว่างเว้นขาดตอนจากการมี
พระมหากษัตริย์ และโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร"
(วะ-ชิ-รา-ลง-กอน บอ-ดิน-ทฺระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน)
นายศุภกิตติ์ ประจิตร เลขที่ 11
นางสาวปณิตา เจียะรัตน์ เลขที่ 40
นางสาวจริยา ตาลปั้น เลขที่ 24
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ_บดินทรเทพยวรางกู