Page 19 - งารวารสาร 5/6
P. 19
เพชรมีความถ่วงจําเพาะ 3.52 และมีดรรชนีหักเหของแสง 2.417 นักวิเคราะห์ใน
ห้องปฏิการ สามารถบอกความแตกต่างระหว่างเพชรแท้ และเพชรเทียม หรือแร่ชนิดอื่น ๆ
ได้จากลักษณะเฉพาะ 2 ประการนี้
ความถ่วงจําเพาะ ในที่นี้หมายถึง น้ําหนักสัมพัทธ์ของวัตถุ เพชรมีน้ําหนักเบากว่า
เพทาย และวัตถุอื่นที่ใช้แทนเพชรมาก การสังเคราะห์เพชรให้มีคุณสมบัติเหมือนเพชรแท้
สามารถกระทําได้ และได้มีการทําขึ้นเป็นจํานวนมากเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม แต่
เพชรสังเคราะห์ทําได้ยากมาก จึงไม่มีกําไรหากจะสังเคราะห์ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับ
ครรชนีหักเหของแสง คือ การวัดวามสามารถในการหักเหของแสงที่เดินผ่านเพชร
ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเพชรอีกเช่นกัน เพชรที่ได้รับการเจียระไนอย่างได้สัดส่วนจะ มี
คามสามารถในการรวม การหักเห และการสะท้อนแสงกลับมาสู่ผู้มอง โดยแทบจะไม่สูญเสีย
ประกายไปแม้แต่น้อย และนี่คือคุณสมบัติของเพชรในด้าน "ไฟหรือน้ํา อันเป็นประกาย" ที่ไม่
มีอัญมณีอื่นใด ไม่ว่าแท้หรือเทียมจะเทียบได้
เมื่อแสงกระทบพื้นผิวเพชร ส่วนหนึ่ง การหักเหของแสง เมื่อลําแสงสัมผัส ลําแสงถูกสะท้อนกลับสู่พื้นผิวเพชร และ
ของแสงกระทบตาผู้มอง เรียกว่า พื้นผิวภายในเพชรพิจก A และจุด B กะจายตัวออกเป็นสเปกตรัม (แสงสีรัง)
การสะท้อนจากภายนอก นั่นคือ การสะท้อนแสง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การกะจายแสง
ในปัจจุบัน เพชรที่ขุดพบร้อยละ 20 เท่านั้น จะมีคุณภาพดีพอสําหรับนําไปทํา
เครื่องประดับ อีกร้อยละ 80 มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการทําเครื่องประดับ เช่น มีรอยร้าว
ขุ่นมัว สีไม่สวย สีดํา เพชรพวกนี้จะถูกนําไปใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เลื่อยฝังเพชร
สําหรับตัดพวกคาร์ไบด์ ทําหัวเจาะ สําหรับเครื่องเจาะเพื่อสํารวจ และพัฒนาแหล่งแร่
รวมทั้งแหล่งน้ํามัน ใช้ตกแต่งขัดเกลาชิ้นส่วนของโลหะผสมต่างๆ ให้มีรูปทรงตามความ
ต้องการนําไปติดบนเครื่องมือ เพื่อเจียระไน แกะสลัก ใช้ลับมีดที่ทําจากคาร์ไบด์ ทําหัวเจาะ
เครื่องมือทันตแพทย์นํามาบดเป็นผง เพื่อทําวัสดุขัดถู เพชรสําหรับใช้ในการอุตสาหกรรม
เป็นที่ต้องการมาก แต่ปริมาณที่ขุดได้ยังไม่เพียงพอ ไม่เพียงพอ
นายเอกสิทธิ์ แก่นนาคํา เลขที่ 46
อ้างอิง : http://www.patchra.net/minerals/gems/diamond04.php