Page 19 - งารวารสาร 5/6
P. 19

เพชรมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นคาร์บอน (Carbon) และตกผลึกในทรงลูกบาศก์
               (Cubic) ลักษณะของผลึกเพชรมักอยู่ในรูปของออกตะฮีดรอน (Octahedron) ที่มีรูปร่าง

               คล้ายปีรามิด 2 ชิ้นมาประกบกันเพชรจะมีส่วนประกอบของคาร์บอนอยู่ถึง 99.95% ส่วน
               ที่เหลือ 0.05% จะเป็นแร่ธาตุอื่น ๆ ปะปนอยู่ในเพชร ที่เราเรียกว่า Impurities ซึ่งเป็น

               องค์ประกอบที่มีผลต่อสีและรูปร่างของเพชร













                          รูปดิวบิก (Cubic)                      รูปออกตาซิตรอน (Octahed ron)


                       ข้อเท็จจริงที่ว่า เพชรสามารถผ่านพ้นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอย่างรุนแรง
               มาได้ เป็นระยะเวลายาวนาน ในขณะที่วัตถุอื่น ๆ ที่อยู่รอบข้าง เช่น หินแกรนิตซึ่งมีผิว
               ขรุขระ

               ผุกร่อนจนกลายเป็นฝุ่นไปหมดเป็นเครื่องพิสูจน์ความแข็งแกร่งของเพชรได้เป็นอย่างดี
               ตามตารางการวัดความแข็งของโมห์ (Moh's Hardness Scale) ระดับ (level) 1 ถึง 10

               เพชรมีความแข็งอยู่ที่ระดับ 10 (ระดับ 10 มีค่าความแข็งมากที่สุด ขณะที่ระดับ 1 มีค่า
               ความแข็งน้อยที่สุด) ในขณะที่หินมีค่าเช่น ทับทิมและไพลิน (รูปหนึ่งของคอรันดัม) มีความ
               แข็งอยู่ที่ระดับ 9 แต่สิ่งนี้มิใช่เครื่องแสดงถึงความแข็งแกร่ง ของเพชรได้อย่างเพียงพอ

               การวัดในเชิงวิยาศาสตร์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกแสดงให้เห็นว่า เพชรแข็งกว่าทับทิมและไพลิน
               ถึง 140 เท่า แม้ว่าทับทิมและไพลินจะมีความแข็งแกร่งรองลงมา จากเพชรเป็นอันดับแรกก็

               ตาม เพชรสามารถ
               ขีดวัตถุทุกชนิดที่มนุษย์รู้จักให้เป็นรอยได้ แต่มีวัตถุเพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่สามารถขูด
               ขีดเพชรให้เป็นเป็นรอยได้ ก็คือเพชรนั่นเอง








                                                                              นายอิทธิพงษ์ กอกลาง เลขที่ 28
               อ้างอิง : http://www.patchra.net/minerals/gems/diamond04.php
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24