Page 66 - คู่มืออบรมครูในหน่วยทหาร
P. 66

60




                               การเทียบโอนผลการเรียนและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
                          เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


               ความเป็นมา

                       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3)

               พ.ศ. 2553  ก าหนดรูปแบบการศึกษาไว้สามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา
               ตามอัธยาศัย ประชาชนสามารถเลือกศึกษาจากรูปแบบใดก็ได้ และน าผลการเรียนมาเทียบโอนระหว่างกันได้

               เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันพระราชบัญญัติส่งเสริม
               การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 มาตรา 14 ข้อ (4) ได้บัญญัติเกี่ยวกับการเทียบ

               โอนไว้ว่า ให้ส านักงาน กศน. มีอ านาจหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และด าเนินการ เทียบโอนผลการเรียน

               การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์  และการเทียบระดับการศึกษา ดังนั้น การเทียบโอนจึงเป็นภารกิจที่ส าคัญที่
               ส านักงาน กศน. จะต้องผลักดันให้สถานศึกษาด าเนินการอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

                      ในปีงบประมาณ 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรใหม่ มีชื่อว่า “หลักสูตร

               การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551” ซึ่งก าหนดหลักการไว้ชัดเจนว่าจะส่งเสริม
               ให้มีการเทียบโอนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้

               ผู้เรียนได้พัฒนา และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การเทียบโอนจึงเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผลการเรียนรู้
               ที่หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมจัดการศึกษา และเชื่อมโยงผลการเรียนรู้จากวิธีการเรียนที่หลากหลาย ทั้งจากการศึกษา

               หลักสูตรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จากการประกอบอาชีพและจากประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกส าคัญ

               ในการส่งเสริมให้บุคคลมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เมื่อบุคคลตระหนักและรับรู้ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้
               หรือเคยเรียนรู้มานั้นสามารถน ามาเพิ่มคุณค่าโดยการเทียบโอน นับเป็นผลพลอยได้จากการเรียนรู้

               นอกเหนือจากการน าสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปแก้ไขปัญหาในการด ารงชีวิตประจ าวัน และการประกอบอาชีพ
               ยังสามารถน ามายกระดับคุณวุฒิทางการศึกษาได้อีกทางหนึ่งด้วย


               การเทียบโอนมี 2 รูปแบบ คือ

                      1. การเทียบโอนผลการเรียน

                      2. การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
               สามารถเทียบโอนทุกวิธีได้ทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 75 ของ

               โครงสร้างหลักสูตรแต่ละระดับ ดังนี้

                        - ประถมศึกษา          เทียบโอนได้ไม่เกิน 36 หน่วยกิต    จากโครงสร้าง 48 หน่วยกิต
                        - มัธยมศึกษาตอนต้น    เทียบโอนได้ไม่เกิน 42 หน่วยกิต    จากโครงสร้าง 56 หน่วยกิต

                        - มัธยมศึกษาตอนปลาย    เทียบโอนได้ไม่เกิน 57 หน่วยกิต    จากโครงสร้าง 76 หน่วยกิต
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71