Page 24 - BBLP ejournal2018.docx
P. 24

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                     สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและทางลักษณะปรากฏปรากฏระหว่างลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโค

              สาว และ แม่โคสามารถจัดลักษณะต่างๆได้เป็น 4 กลุ่มตามลักษณะทางชีววิทยาของระบบสืบพันธุ์ที่

              สอดคล้องกันสูงกับรูปแบบสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม กลุ่มที่1 เป็นลักษณะที่วัดความสามารถของโคสาวที่

              ผสมติดและตั้งท้อง ประกอบด้วย DFTC, NSPC,FSC, P56 และ P90 มีสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง
              ลักษณะมีค่าปานกลางถึงสูงอยู่ในช่วงจาก 0.59 (ความสัมพันธ์ทางบวก) ถึง 0.99 (ความสัมพันธ์ทางลบ)

              กลุ่มที่ 2 เป็นลักษณะแม่โคที่กลับมาเป็นสัดหลังคลอดแสดงโดย DTFSกลุ่มที่ 3 เป็นลักษณะแม่โคที่ผสมติด

              และตั้งท้องประกอบด้วย DFTC, NSPC,FSC, P56 และ P90 มีสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะมี

              ค่าปานกลางถึงสูงอยู่ในช่วงจาก 0.51 (ความสัมพันธ์ทางบวก) ถึง 0.99 (ความสัมพันธ์ทางลบ) คล้ายกับใน

              โคสาว กลุ่มที่ 4 เป็นลักษณะที่วัดความสามารถรวมกันของแม่โคที่กลับมาเป็นสัดหลังคลอด การผสมติด

              และการตั้งท้อง เช่น DO, CI มีสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะมีค่าเท่ากับ 1

                     ค่าสหสัมพันธ์ในโคสาว (ระหว่าง AFS และ AFC) และ ในโคแม่โค (ระหว่าง DO และ CI, ระหว่าง
              DTFC และ P56, ระหว่าง DTFC และ P90) มีค่าเข้าใกล้ 1 หรือเท่ากับ 1 สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้า

              นี้ (Jamrozik et al., 2005; Abe et al., 2009; Eghbalsaied, 2011; Guo et al., 2014) ซึ่งแนะน าว่าลักษณะ

              ที่มีสหสัมพันธ์เหล่านี้เป็นดัชนีของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่เหมือนกัน และอาจมาจากจุดก าเนิดของ

              แหล่งทางพันธุกรรมเดียวกัน อย่างไรก็ตามสหสัมพันธ์ระหว่าง DO และ CI ขึ้นอยู่กับค าจ ากัดความของ

              DO ว่าคิดบนพื้นฐานอะไร เช่น จากวันคลอดถัดมา จากการไม่กลับมาเป็นสัดภายใน 90 วันหลังจากวัน

              ผสมครั้งสุดท้าย หรือจากการตรวจการตั้งท้อง DO ที่คิดมาจากการไม่กลับมาเป็นสัดภายใน 90 วัน หรือ

              จากการตรวจการตั้งท้องเป็นลักษณะที่น่าสนใจมากกว่า แม้ว่าจะมีความถูกต้องน้อยกว่าที่คิดจากวันคลอด

              ถัดมา เพราะว่าจะสามารถประเมินพันธุกรรมของพ่อพันธุ์ในการพิสูจน์ครั้งแรกและแม่โคได้เร็วขึ้นอย่าง

              น้อย 6 เดือน
                     ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมต ่าที่พบระหว่าง AFS หรือ AFC และ NSPC,DFTC,FSC,P56 และ

              P90 ชี้ให้เห็นว่าการคัดเลือกส าหรับให้ได้ AFS หรือ AFC ต ่า จะมีผลตอบสนองที่เกี่ยวข้องต่อ

              NSPC,DFTC,FSC,P56 และ P90 ในโคสาวเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ AFS และ AFC เป็นผล

              สะท้อนมาจากการเจริญเติบโตของร่างกายของโคสาวมากกว่าความสมบูรณ์พันธุ์ ดังนั้นขนาดของร่างกาย

              ของโคสาวจึงเป็นสิ่งที่ส าคัญที่เกษตรกรหรือเจ้าหน้าที่ผสมเทียมจะใช้พิจารณาในการตัดสินใจผสมเทียม

              ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมต ่าระหว่าง AFC กับ ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์อื่นๆ ในโคสาวได้มีรายงานไว้

              เหมือนกันในระบบการเลี้ยงแบบปราณีต (Jamrozik et al., 2005; Abe et al., 2009; Eghbalsaied, 2011)
                     ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ได้ระหว่างลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ต่างๆที่ศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็น

              ว่าการคัดเลือกลักษณะ DFTC หรือ DO ส าหรับโคสาวและแม่โคจะส่งผลท าให้ความสามารถในการผสมติด

              และตั้งท้องมีความก้าวหน้าทางพันธุกรรมมากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Liu et al. (2017) ที่



                                                           14
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29