Page 3 - มุมมืดการศึกษาไทย_DEMO
P. 3

มุ ม มื ด ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย   | ตอนนี้อยู่ที่ ๑๕




               แตกต่างกันไป หมายความว่ารูปแบบการด ารงชีวิตก็จะหลากหลายด้วย การศึกษา
               ในโลกกว้างก็จะเป็นประโยชน์มากในการสร้างทักษะในการด าเนินชีวิตในอนาคต

                       วกกลับเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีสถานศึกษาสามแบบ คือ
               “วัง” “วัด” และ “บ้าน”


                       “วัง” เป็นโรงเรียนที่ขุนนางหรือข้าราชการที่มีฐานะ จะส่งลูกหลานเข้า
               ไปในวัง ถ้าเป็นผู้ชาย ก็จะให้เป็นมหาดเล็ก เพื่อจะได้รับราชการในอนาคต ส่วน
               ผู้หญิง ก็เข้าไปฝึกมารยาท งานคหกรรม งานบ้านงานเรือน หรือบางครั้งอาจจะ
               เป็นนางก านัลภายในวังก็ได้


                       ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการตั้งสถานการศึกษามากขึ้น ทั้งเป็น
               การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ด้วย หรือจะเป็นการตั้งโรงเรียนภายในวัง ต่อมาใน
                       *
               รัชกาลที่ ๕  มีการตั้งโรงเรียนหลวงแห่งราษฎรแห่งแรกของประเทศไทย คือ
               โรงเรียนวัดมหรรณพาราม (วัดมหรรณพารามวรวิหารในปัจจุบัน) โดยโรงเรียน
               วัดมหรรณพาราม จะเปิดให้การศึกษากับบุรุษสามัญทั่วไป ส่วน ส าหรับโรงเรียน
               เอกชนส าหรับบุรุษแห่งแรก คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จัดตั้งเมื่อ
               พ.ศ. ๒๓๙๕ ถือว่าเป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดตั้งโดยคณะคณะ
               มิชชันนารีในสมัยนั้นที่เข้ามายังประเทศไทย


                       โรงเรียนราษฎร(เอกชน) ส าหรับสตรีสามัญแห่งแรกของประเทศไทย
               คือ โรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี โดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน เมื่อพ.ศ.
               ๒๔๐๘ ต่อมาโรงเรียนราชินี จัดตั้งในปีพ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นโรงเรียนเอกชนส าหรับ
               สตรีแห่งแรก จัดตั้งโดยสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ ใน
               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


                       ส่วนโรงเรียนราษฎรแห่งแรกที่จัดตั้งโดยคนไทย คือ โรงเรียนบ ารุงวิชา
               จัดตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒





             *  ตั้งแต่ย่อหน้าดังกล่าว อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดียภาษาไทย th.wikipedia.org
   1   2   3   4   5   6