Page 30 - หยาดเพชรหยาดธรรม
P. 30
ภูมิปัญญาเพื่อการศึกษาไทย 23
“หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมวดหนึ่ง ท่าน
เรียกว่า สัทธรรม ๓ มี ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ปริยัติ
คือเล่าเรียน ปฏิบัติคือลงมือทำา ปฏิเวธ คือ ประจักษ์แจ้ง
ผล สามอย่างนี้เป็นการครบวงจรของการศึกษา”
(๒๓/๕)
“สิกขาหรือการศึกษา แปลว่า การฝึกฝนพัฒนา
การฝึกฝนพัฒนาคนนั้น อิงอาศัยความเชื่อที่ว่า มนุษย์
มีศักยภาพที่พัฒนาได้หรือว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ
ได้ด้วยการฝึกฝนพัฒนา เมื่อฝึกฝนพัฒนาด้วยไตรสิกขา
ให้ชีวิตดำาเนินตามวิถีแห่งมรรค ในที่สุดก็จะบรรลุจุดหมาย
แห่งชีวิตที่ดีงามเป็นสัตว์ประเสริฐ มีคุณสมบัติบริบูรณ์
มีทั้งปัญญาที่หยั่งรู้สัจจธรรมเป็นอิสระ ดำาเนินชีวิตด้วย
สันติสุข และน้อมชีวิตของตนออกไปเพื่อประโยชน์สุข
และอิสรภาพของเพื่อนร่วมโลก”
(๒๐/๔๖)
“แม้ว่าตัวการศึกษาที่แท้จะเป็นเรื่องของบุคคล
แต่สังคมก็ยังสามารถจัดปัจจัยต่างๆ เพื่ออำานวยให้การ
ศึกษาเกิดขึ้นแก่บุคคลได้ การจัดปัจจัยต่างๆ เพื่อ