Page 185 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 185
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๕๗
ข้อสังเกต
๑. ในคดีที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีการเรียกพยานเอกสารจากบุคคลภายนอกจ านวนมาก
ศาลอาจก าหนดวันนัดตรวจความพร้อมของพยานหลักฐานก่อนสืบพยานเพื่อพิจารณาแก้ไข
เหตุขัดข้องต่าง ๆ เกี่ยวกับพยานเอกสารให้เสร็จสิ้น อันจะท าให้สามารถสืบพยานตามก าหนดนัด
ในระบบการนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะและต่อเนื่องได้
๒. เอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ส่งส าเนาเอกสารโดยรับรองความถูกต้อง ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้เหมือนต้นฉบับ
เอกสาร (มาตรา ๙๓ (๓) )
๓. การอนุญาตให้คู่ความอ้างเอกสารใดเป็นพยานและจะมีค าสั่งเรียกมาหรือไม่
เป็นอ านาจศาล ผู้ครอบครองเอกสารจะโต้แย้งว่าไม่ควรเรียกมาไม่ได้ (ฎีกาที่ ๑๘๑๓/๒๕๑๑)
๒. ค าสั่งเรียก
ค าสั่งเรียกใช้แบบพิมพ์แบบ ๑๘ ค าสั่งเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ (คดีแพ่ง)
ข้อสังเกต
การอ้างส านวนคดีที่อยู่ในศาลเดียวกันเป็นพยาน ฝ่ายที่อ้างท าเป็นค าแถลง สั่งในค าแถลง
ว่า “ให้น าส านวนที่อ้างมาผูกติดไว้” ถ้าเป็นส านวนของศาลอื่น ฝ่ายที่อ้างต้องท าเป็นค าร้อง
สั่งในค าร้องว่า “มีหนังสือขอยืมมา” ไม่ควรมีค าสั่งเรียกส านวนจากศาลอื่น นอกจากนี้อาจสั่ง
ให้ฝ่ายที่อ้างไปขอถ่ายส าเนาเอกสารในส านวนที่ต้องการมาอ้างส่งศาลแทนการยืมส านวนก็ได้
๓. การขอให้เรียกเอกสารที่อยู่นอกเขตอ านาจศาล
เช่น ในกรณีที่โจทก์ยื่นค าร้องขอให้ศาลแพ่งเรียกเอกสารที่อยู่ในเขตอ านาจของ
ศาลจังหวัดสมุทรปราการโดยขอให้ศาลแพ่งส่งค าสั่งไปให้ศาลจังหวัดสมุทรปราการ จัดการส่ง
ค าสั่งให้แก่ผู้ครอบครองเอกสาร โดยโจทก์จะเป็นผู้น าไปส่งเอง และขอให้ศาลจังหวัด
สมุทรปราการสลักหลังค าสั่งด้วย
ศาลแพ่งสั่งค าร้องว่า “ค าสั่งเรียก โดยขอให้ศาลจังหวัดสมุทรปราการส่งและสลักหลังให้”
เมื่อศาลจังหวัดสมุทรปราการได้รับหนังสือน าส่งค าสั่งเรียกจะสั่งในหนังสือน าส่งว่า “จัดการให้”
และสั่งสลักหลังในค าสั่งเรียกว่า “ให้ผู้ครอบครองเอกสารปฏิบัติตามค าสั่งเรียกนี้” ลงชื่อ
ผู้พิพากษาและประทับตราศาลจังหวัดสมุทรปราการ
กรณีส่งประเด็น ชอบที่จะไปขอค าสั่งเรียกที่ศาลรับประเด็น เพื่อให้ผู้ครอบครองเอกสาร
ส่งเอกสารต่อศาลนั้นโดยตรง