Page 224 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 224
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๙๖
บทที่ ๑๓
การออกหมายจับพยาน
๑. การออกหมายจับพยานมาเบิกความ
จะกระท าได้ต้องปรากฏข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๑๑๑ ว่า
๑.๑ พยานได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้วจงใจไม่มาศาลหรือสถานที่ตามวัน เวลาที่ก าหนดไว้ หรือ
ได้รับค าสั่งจากศาลให้รอคอยอยู่แล้วจงใจหลบเสีย และ
๑.๒ ศาลเห็นว่าค าเบิกความของพยานที่ไม่มาศาลเป็นข้อส าคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี
๒. การออกหมายจับพยาน
โดยทั่วไปคู่ความฝ่ายที่อ้างเป็นผู้ขอให้ออกหมายจับ แต่ศาลจะออกหมายจับเองโดยไม่มี
ฝ่ายใดขอก็ได้ (ฎีกาที่ ๙๑๘/๒๕๐๓) ก่อนออกหมายจับควรปรึกษาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
หรือรองอธิบดีฯ หรืออธิบดีฯ ก่อน
จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า
“นัดสืบพยานจ าเลย ทนายโจทก์และทนายจ าเลยมาศาล
ทนายจ าเลยแถลงว่า คดีนี้จ าเลยยังติดใจสืบพยานอีก ๑ ปาก คือ นาย . . . .ซึ่งได้รับหมาย
โดยชอบแล้วแต่ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พยานปากนี้เป็นพยานส าคัญในคดี เพราะเป็น
ผู้รู้เห็นและลงชื่อเป็นพยานในเอกสารสัญญากู้ตามที่โจทก์ฟ้องจ าเป็นต้องน าสืบ ชั้นนี้ขอเลื่อนคดี
ไปก่อน
ทนายโจทก์ไม่คัดค้าน
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เป็นกรณีจ าเป็นจึงอนุญาต ให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจ าเลย วันที่ . . . .
อนึ่ง ปรากฏว่านาย . . . . พยานจ าเลยในข้อส าคัญแห่งคดี ได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว
ไม่มาศาล ทั้งไม่แจ้งเหตุขัดข้องถึง ๒ ครั้งแล้ว ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจงใจหลีกเลี่ยงไม่มาศาล
ตามหมายเรียก จึงให้ออกหมายจับ . . . . .พยานมากักขังไว้จนกว่าจะได้เบิกความต่อไป”
๓. ค าสั่งต่อเนื่องหลังจากศาลออกหมายจับแล้ว
๓.๑ พยานที่ถูกออกหมายจับนั้นยื่นค าร้องว่า มาศาลช้าไปเพียงเล็กน้อยหรือมีเหตุ
ขัดข้องอื่น ๆ มิได้จงใจขัดขืนไม่มาศาล ดังนี้ ถ้าเชื่อได้ตามค าร้องก็สั่งให้งดออกหมายจับ หรือ
ถ้าออกหมายจับไปแล้วก็ให้เพิกถอนหมายจับ และให้พยานลงชื่อทราบนัดไว้