Page 257 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 257
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๒๙
บทที่ ๑๙
การตกลงเกี่ยวกับการสืบพยาน
๑. การตกลงให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานท าการสืบพยานนอกศาล
ปกติในการพิจารณาคดี ศาลจะเป็นผู้สืบพยานหลักฐานในศาลตามมาตรา ๑๐๒
แต่คู่ความอาจตกลงกันเกี่ยวกับการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งนอกศาล โดยขอให้ศาล
แต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นไปท าการสืบพยานหลักฐานที่จะต้องกระท านอกศาล
เช่น การสืบพยานบุคคลนอกศาล หรือการตรวจดูวัตถุหรือสถานที่นอกศาล แทนการที่ศาล
จะต้องออกไปเผชิญสืบพยานหลักฐานนั้นเองตามมาตรา ๑๐๓/๑ วรรคหนึ่ง โดยมีหลักเกณฑ์
และวิธีการดังนี้
(๑) คู่ความทุกฝ่ายต้องตกลงร่วมกันในการขอสืบพยานนอกศาล การขออาจกระท า
โดยการแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
(๒) การร้องขอดังกล่าวต้องระบุพยานหลักฐานที่ประสงค์จะสืบนอกศาลและเหตุผลที่ขอ
กรณีขอให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานอื่นควรระบุต าแหน่งหรือชื่อสกุลของเจ้าพนักงานที่ขอให้ศาล
แต่งตั้งให้ท าการสืบพยานหลักฐานดังกล่าวโดยคู่ความทุกฝ่ายต้องเห็นชอบด้วย
(๓) การตกลงให้ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานท าการสืบพยานนอกศาลตามมาตรา ๑๐๓/๑
เป็นข้อยกเว้นของมาตรา ๑๐๒ ศาลจึงต้องพิจารณาแล้วเห็นเป็นการจ าเป็นและสมควรอย่าง
แท้จริง จึงจะมีค าสั่งอนุญาตตามข้อตกลงได้ ทั้งนี้ ศาลอาจก าหนดกรอบให้เจ้าพนักงานศาล
หรือเจ้าพนักงานอื่นด าเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ โดยศาลอาจจดรายงานกระบวนพิจารณา
ว่า ให้เจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นก็ดี กระท าการสืบพยานอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นกรอบ
หรือแนวทางในการสืบพยานนอกศาล
กรณีที่คู่ความขอให้ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจแต่งตั้ง
เจ้าพนักงานศาลตามบทนิยามในข้อ ๓ ของข้อก าหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทาง
การน าสืบพยานหลักฐานและการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้แก่ ข้าราชการศาลยุติธรรมซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมายระดับช านาญการขึ้นไป
หรือส าเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางกฎหมาย หรือเป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ในกรณีที่ไม่มีข้าราชการศาลยุติธรรมดังกล่าว ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอาจมอบหมายให้ข้าราชการ
ศาลยุติธรรมคนหนึ่งไปท าหน้าที่เจ้าพนักงานศาลก็ได้ หรือแต่งตั้งเจ้าพนักงานอื่น เช่น เจ้าหน้าที่
ของรัฐในหน่วยงานอื่นที่มีต าแหน่งหน้าที่เหมาะสม หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับ