Page 459 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 459
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๓๑
๑.๖.๒ กรณีศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษายกค าพิพากษาศาลชั้นต้นหรือ
ศาลอุทธรณ์ หรือพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกค าพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ย้อน
ส านวนมาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ หรือให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ คงจดรายงาน
กระบวนพิจารณาท านองเดียวกับกรณีข้อ ๑.๖.๑ แต่ต้องให้ปรากฏข้อความ เพิ่มเติมว่า
“ศาลอุทธรณ์พิพากษายกค าพิพากษาศาลชั้นต้น ให้พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงให้นัด . . . .
(นัดพร้อม นัดสืบพยาน หรือนัดฟังค าพิพากษาในกรณีไม่ต้องสืบพยาน) วันที่ . . . . เวลา . . . .
ถ้าหากมีการฎีกา ก็ให้งดเสีย” (ข้อความตอนท้ายนี้ใช้เฉพาะกรณีอ่านค าพิพากษาศาลอุทธรณ์)
การนัดดังกล่าว ควรนัดให้พ้นก าหนดฎีกา เพื่อดูว่าจะมีการฎีกาต่อไปหรือไม่
ส่วนกรณีที่ศาลฎีกาย้อนส านวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่คงจด
รายงานกระบวนพิจารณาท านองเดียวกับข้อ ๑.๖.๑ แต่ต้องให้ปรากฏข้อความเพิ่มเติมว่า
“เนื่องจากศาลฎีกาพิพากษายกค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ จึงให้
รวบรวมถ้อยค าส านวนส่งไปศาลอุทธรณ์ เพื่อด าเนินการตามค าพิพากษาศาลฎีกาต่อไป”
ข้อสังเกต
กรณีศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษาย้อนส านวนมาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษา
ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๓ นั้น หากองค์คณะผู้พิพากษาเดิมย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่นแล้ว
กรณีเช่นนี้ถือว่ามีเหตุจ าเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ท าให้องค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น
ไม่อาจจะนั่งพิจารณาหรือท าค าพิพากษาคดีนั้นต่อไปได้ เพราะองค์คณะผู้พิพากษาพ้นจาก
ต าแหน่งที่ด ารงอยู่ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๓๐ ซึ่งต้องใช้กระบวนการแก้ปัญหา
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๘ หรือ มาตรา ๒๙ แล้วแต่กรณี ดังนี้
(ก) หากศาลสูงย้อนส านวนมาให้พิจารณาพิพากษาใหม่ ถือว่าเหตุจ าเป็นอื่นอันมิอาจ
ก้าวล่วงได้ ตามมาตรา ๓๐ เกิดขึ้นในระหว่างพิจารณา จึงต้องใช้ทางแก้ตามมาตรา ๒๘(๓)
โดยอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือรองอธิบดี
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้น
ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
มอบหมาย มีอ านาจนั่งพิจารณาแล้วมีค าพิพากษาใหม่ได้ (ฎีกาที่ ๙๕๘๕/๒๕๕๔)
(ข) หากศาลสูงย้อนส านวนมาให้พิพากษาใหม่ แสดงว่าเป็นกรณีศาลสูงเห็นว่า
คดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยค าพิพากษาตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๒๔๓ (๑) เท่านั้น แต่การพิจารณาไม่มีข้อบกพร่องผิดพลาด จึงเพียงแต่ย้อนส านวนมาให้
ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ในกรณีเช่นนี้ ถือว่า เหตุจ าเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา ๓๐
เกิดขึ้นในระหว่างการท าค าพิพากษา จึงต้องใช้ทางแก้ตามมาตรา ๒๙(๓) กล่าวคือ อธิบดี