Page 455 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 455

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๒๗


                             ถ้าผู้ขอน าเงินค่าธรรมเนียมศาลมาช าระภายในก าหนด ก็ให้สั่งรับค าฟ้องอุทธรณ์ ว่า

                  “หมายนัดให้อีกฝ่ายแก้อุทธรณ์  โดยให้ผู้อุทธรณ์  น าส่งหมายนัดส าเนาอุทธรณ์ต่อไป”

                             กรณีโจทก์ (จ าเลย) ยื่นค าร้องขออนุญาตฎีกา สั่งว่า “รวมส่งศาลฎีกา”



                  ๔. การอุทธรณ์ค าสั่งค าร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

                            เมื่อศาลมีค าสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาแต่เฉพาะ

                  บางส่วนหรือยกค าร้อง  ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ค าสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขอ

                  ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ตาม  โดยต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นภายใน

                  เจ็ดวันนับแต่วันมีค าสั่ง  เมื่อศาลอุทธรณ์มีค าสั่งอย่างใดแล้วย่อมเป็นที่สุด  (มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่)

                                 ข้อสังเกต

                                ๑.  ถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม

                  ศาลก็ชอบที่จะก าหนดเวลาให้ผู้ขอช าระค่าธรรมเนียมได้ตามที่เห็นสมควร อาศัยอ านาจทั่วไป


                  ตามความเหมาะสมและความยุติธรรม (ฎีกาที่ ๖๔๙/๒๕๒๑)  แต่หากผู้ขออุทธรณ์ค าสั่งต่อไป
                  แล้วศาลอุทธรณ์สั่งยืนตามศาลชั้นต้นโดยมิได้ก าหนดเวลาใหม่ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดไปตาม


                  ค าสั่งศาลชั้นต้น (ฎีกาที่ ๑๗๐๗/๒๕๒๔)
                                ๒. อุทธรณ์ค าสั่งในเรื่องอื่นที่มิใช่เนื้อหาค าร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลค าสั่ง


                  ศาลอุทธรณ์ไม่เป็นที่สุดตามมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ เช่น อุทธรณ์ของผู้ร้องที่คัดค้านค าสั่งของ

                  ศาลชั้นต้นที่ยกค าร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลของผู้ร้อง โดยอ้างว่าผู้ร้องทิ้งค าร้องนั้น

                  ค าสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิได้สั่งในเนื้อหาของค าร้อง  จึงมิใช่ค าสั่งที่ให้ยกค าร้องขอยกเว้น

                  ค่าธรรมเนียมศาลซึ่งผู้ร้องจะต้องอุทธรณ์ภายใน ๗ วัน ตามมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ ผู้ร้องจึงมี

                  สิทธิอุทธรณ์คัดค้านค าสั่งดังกล่าวได้ภายในก าหนด ๑ เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๓

                  ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๙ (ฎีกาที่ ๓๖๖๗/๒๕๕๐)
   450   451   452   453   454   455   456   457   458   459   460