Page 453 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 453
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๒๕
๓.๒.๑ อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาทั้งหมด หากเชื่อ
ได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
จะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และอุทธรณ์หรือฎีกาของ
ผู้ร้องต้องมีเหตุผลอันสมควรด้วย (มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสอง) ค าสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ทั้งหมดเป็นที่สุด
ตัวอย่างค าสั่ง
“พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีของ โจทก์(จ าเลย) มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ และ
โจทก์(จ าเลย)ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงอนุญาตให้โจทก์(จ าเลย) ได้รับ
ยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์(ฎีกา)”
และสั่งในค าฟ้องอุทธรณ์ ว่า “โจทก์ (จ าเลย) ได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นอุทธรณ์ รับอุทธรณ์ ส าเนาให้จ าเลย (โจทก์) แก้ภายใน ๑๕ วัน ให้โจทก์ (จ าเลย) น าส่ง
หมายนัดส าเนาอุทธรณ์ โดยให้วางเงินค่าส่งหมาย อย่างช้าภายในวันท าการถัดไป หากส่งไม่ได้
ให้แถลงภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ”
กรณีโจทก์ (จ าเลย) ขออนุญาตฎีกา สั่งว่า “โจทก์ (จ าเลย) ได้รับอนุญาตให้ยกเว้น
ค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา รวมส่งศาลฎีกา”
ข้อสังเกต
๑. เงินค่าธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นคือ ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาและเงินวางศาล
ในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา ๒๒๙ ได้แก่ เงินค่าธรรมเนียมรวมทั้งค่าทนายความ
ที่ต้องใช้แทนอีกฝ่ายตามค าพิพากษา (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๓๓๙/๒๕๒๓, ๓๓๓๓/๒๕๒๗)
(มาตรา ๑๕๗) แต่ไม่รวมถึงหลักประกันการทุเลาการบังคับ (ฎีกาที่ ๓๑๕๖/๒๕๒๗)
๒. การยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์ถือเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ
จ าเลยแต่ละคน แม้ศาลอนุญาตให้จ าเลยที่ ๑ ด าเนินคดีชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
ศาล ก็ไม่มีผลถึงจ าเลยที่ ๒ ด้วยแต่อย่างใด (เทียบฎีกาที่ ๘๑๘๘/๒๕๓๘)
๓.๒.๒ อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาบางส่วน
ตัวอย่างค าสั่ง
“พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จ าเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากทรัพย์มรดก
มูลค่านับล้านบาทในคดีแพ่งซึ่งอยู่ระหว่างการบังคับคดีตามค าพิพากษา และจ าเลยมีอาชีพ
เป็นตัวแทนขายประกัน เห็นว่า จ าเลยมีอาชีพเป็นหลักฐานและการที่จ าเลยมีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่ง
ทรัพย์มรดกย่อมท าให้จ าเลยมีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์(ฎีกา)ได้ จึงมี
ค าสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ (ฎีกา) แก่จ าเลยบางส่วน โดยให้จ าเลยเสียค่าขึ้นศาล