Page 490 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 490

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๖๒


                                                         หมวด ๕



                                                       ทนายความ




                  ๑.  ใบแต่งทนายความ


                            ๑.๑  คู่ความหลายคนแต่งทนายความคนเดียวในใบแต่งทนายความใบเดียวกันได้เพราะไม่มี

                  กฎหมายห้าม  ถ้าคู่ความคนเดียวตั้งทนายความหลายคนต้องแยกใบแต่งทนายเป็นรายบุคคลตาม

                  มาตรา ๖๐  เพราะทนายความแต่ละคนอาจขาดคุณสมบัติ ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้เป็นทนายความได้

                            ๑.๒  ทนายความได้รับมอบอ านาจจากตัวความให้ฟ้องคดีย่อมมีอ านาจลงชื่อในค าฟ้อง


                  และในช่องผู้เรียงค าฟ้องได้  (ฎีกาที่ ๓๒๖๖/๒๕๒๗)  แต่ไม่มีสิทธิว่าความอย่างทนายความ

                  (ฎีกาที่ ๖๑๕/๒๕๒๔) เว้นแต่จะได้แต่งตั้งตัวเองเป็นทนายความด้วย (ฎีกาที่ ๙๓๘/๒๕๓๐,

                  ๔๙๒๙/๒๕๔๙) จึงจะว่าความอย่างทนายความได้ หากว่าความโดยไม่มีการตั้งตัวเองเป็น

                  ทนายความด้วยถือว่าเป็นการด าเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ   ศาลมีอ านาจสั่งให้แก้ไข

                  โดยให้ผู้รับมอบอ านาจท าใบแต่งทนายความตั้งตัวเองเป็นทนายความก่อนพิพากษาได้ (ฎีกาที่

                  ๖๑๕/๒๕๒๔)


                            ๑.๓  ก่อนสั่งใบแต่งทนายความให้ดูว่าทนายความลงลายมือชื่อ (ฎีกาที่๒๑๕๙/๒๕๓๐)

                  และตัวความลงลายมือชื่อแล้วหรือไม่  เพราะปรากฏว่ามีการหลงลืมไม่ลงลายมือชื่อกันบ่อย ๆ

                  การตัดเอาลายมือชื่อตัวความมาปิดในใบแต่งทนายความใช้ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๙๒๓/๒๕๐๓) กรณี

                  ตัวความพิมพ์ลายนิ้วมือต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา ๙ วรรคสอง  หากปฏิบัติไม่ครบถ้วน

                  มีผลท าให้การแต่งตั้งทนายความบกพร่องยังไม่สมบูรณ์ ทนายความไม่มีอ านาจลงลายมือชื่อ

                  ในช่องโจทก์  ท้ายค าฟ้องได้  ศาลต้องมีค าสั่งให้ท ามาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตาม ป.วิ.พ.

                  มาตรา ๑๘ วรรคสอง (ฎีกาที่ ๔๔๒๒/๒๕๔๕)


                            ๑.๔ เมื่อตรวจใบแต่งทนายความว่าถูกต้องแล้วสั่งว่า  “รวม” ตามมาตรา ๖๑  ถ้าไม่ถูกต้อง

                  ให้สั่งไม่อนุญาตพร้อมกับให้เหตุผลที่ไม่อนุญาต

                            ตัวอย่าง

                             “ปรากฏว่าใบอนุญาตเป็นทนายความขาดต่ออายุ ไม่อนุญาต”  หรือ  “ปรากฏว่าไม่ได้

                  ต่ออายุใบอนุญาตเป็นทนายความในปีนี้  ไม่อนุญาต”  หรือ  “ปรากฏว่าถูกสภาทนายความถอน

                  ชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ไม่อนุญาต” หรือ  “ปรากฏว่าอยู่ในระหว่างถูกห้ามท าการเป็น

                  ทนายความ ไม่อนุญาต”  หรือ“ปรากฏว่าถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ไม่อนุญาต”
   485   486   487   488   489   490   491   492   493   494   495