Page 54 - ลง E book - สำเนา
P. 54

1. จัดล าดับความส าคัญของงานโดยพิจารณาจาก
                                - งานย่อยของงานรายปี
                                - งานจากการตรวจสอบ การวิเคราะห์เครื่องจักรขัดข้อง
                                - งานที่ระบุจากการตรวจสอบประจ าวัน หรืองานปรับปรุง

                              2. การประเมินจ านวนแรงงานและค่าใช้จ่าย
                              3. จัดความสมดุลระหว่างงาน
                              4. เตรียมก าหนดแผนงาน
                              1.3 การเตรียมแผนงานบ ารุงรักษาประจ าสัปดาห์

                              โดยพิจารณาจากจ านวนทีมงาน ในฝ่ายซ่อมบ ารุง จ านวนงาน การควบคุม และการหยุด
                       เครื่องจักร ซึ่งงานจะไม่ใหญ่ หรือค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นงานย่อยของงานประจ าเดือน
                       นั่นเอง บางครั้ง อาจรวมงานฉุกเฉิน สินค้าที่มีต าหนิ หรือคุณภาพต่ ากว่ามาตรฐาน งานที่เกี่ยวข้องกับ
                       ความปลอดภัยมาร่วมด้วย เป็นต้น

                              1.4 การเตรียมแผนงานบ ารุงรักษาเป็นรายโครงการหลัก
                              ซึ่งถือว่า เป็นลักษณะงานที่ค่อนข้างใหญ่ เช่น งานหยุดซ่อม ซึ่งลักษณะงานโครงการที่จะ
                       เกี่ยวข้องกับการสูญเสียของผลผลิตอย่างสูง มีสิ่งที่ต้องค านึงถึงคือ เวลาในการท างาน โดยจะพยายาม

                       ใช้เวลาน้อยที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งการวางแผน จะต้องรวมถึงความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ แรงงาน
                       การเคลื่อนย้ายต่าง ๆ และทีมผู้รับเหมา ที่ต้องเข้ามาสนับสนุนตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น รายละเอียดใน
                       การเตรียมการ จะต้องรัดกุม มีรายละเอียดพร้อมแผนงาน และระยะเวลาในการท างานแต่ละขั้นตอน
                       อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบัน อาจนิยมใช้เทคนิค หรือใช้โปรแกรมการบริหารโครงการมาใช้สนับสนุนใน
                       การด าเนินงาน เช่น โปรแกรม Microsoft project, Primavera Planner, Info Maker หรือ Report

                       Smith เป็นต้น

                       2. การจัดท าคู่มือแม่แบบ

                              การจัดท าคู่มือแม่แบบ เป็นขั้นตอนการจัดท าคู่มือแม่แบบเสมือนเป็นคู่มือบ ารุงรักษา
                       เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบบ ารุงรักษาเชิงป้องกัน ตัวต่อตัว เครื่องต่อ
                       เครื่อง เป็นศูนย์รวมข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดว่าเครื่องจักรแต่ละเครื่องมีรายการมาตรฐานบ ารุงรักษา

                       อย่างไร ความถี่เท่าใด ท าขณะเครื่องจักรหยุด หรือขณะท างาน แต่ละรายการใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่
                       เพื่อคิดเป็นปริมาณงาน และใช้วางแผน นอกจากนี้จะมีการลงหมายเลขกลุ่มค่าใช้จ่ายในกรณีที่งาน
                       ซ่อมบ ารุงมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น
                              เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อรถยนต์สักคัน จะมีคู่มือบ ารุงรักษารถยนต์ติดมาให้ เพื่อให้ผู้ใช้เป็น

                       คู่มือดูแลบ ารุงรักษารถยนต์ เช่น ต้องท าความสะอาดไส้กรองอากาศตอนใด จะเปลี่ยนถ่ายน้ ามัน
                       เครื่องยนต์ น้ ามันเกียร์ที่รถใช้งานมาแล้วทุก ๆ กี่กิโลเมตร ต้องตรวจสภาพปรับแต่งอะไรบ้าง
                              แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีคู่มือเป็นเล่ม กระจายตามเครื่องจักรและอุปกรณ์แต่ละ
                       ประเภท ท าให้การใช้งานไม่สะดวก ถ้าจะท าให้เป็นระบบที่ใช้งานง่าย และสะดวก รวดเร็วจึงรวบรวม

                       น ามาท าเป็นคู่มือบ ารุงรักษา
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59