Page 33 - Zero Waste by Envi-YRU
P. 33
ส่วนที่ 6
ตัวอย่างโครงการขยะฐานศูนย์
ถอดบทเรียน “ZERO WASTE“ โครงการพัฒนาดอยตุง ฯ & หมู่บ้านคามิคัทซึ
ถอดบทเรียน “Zero Waste” ขยะฐานศูนย์
“โครงการพัฒนาดอยตุงฯ” & “หมู่บ้านคามิคัทซึ” 2 ชุมชน 2 ต้นแบบ สู่เป้าหมายเดียวกัน
คนไทยสร้างขยะกันทุกวัน แต่ความสามารถในการจัดการขยะมีไม่ถึง 70 % ของ
ขยะทั้งหมด ส่งผลให้ประเทศไทยเกิดปัญหาขยะตกค้างปริมาณมาก ปริมาณขยะมูลฝอย
เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อนกว่า 3 ล้านตัน ทว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถมภ์
ั
ผู้ดำเนินงานพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน จึงมีนโยบาย “Zero Waste to Landfill” ตั้งแต่ปี
2561 ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงราย จนประสบผลสำเร็จ สามารถลดปริมาณขยะเหลือทิ้งลงสู่บ่อฝังกลบให ้
เป็นศูนย์เป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2561
แต่ความสำเร็จไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังคงศึกษาองค์ความรู้
ใหม่ๆ และหลากหลายเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและ
เจ้าหน้าที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ไปศึกษาดูงานที่ คามิคัทซึ (Kamikatsu) เมืองขนาดเล็ก
ของญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองรักษาสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะจนโด่ง
ดังไปทั่วโลก
ทั้งนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน
ผ่านการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานตามแนวทาง “ใช้
น้อย” คือ ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล และ “ปล่อยน้อย” คือลดการปล่อยมลพิษสู่
สิ่งแวดล้อม ในปี 2563 มีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
โดยการชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ปล่อยทั้งหมด ด้วย
คาร์บอนเครดิตที่จะได้ในปี 2563 จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัคร
ใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งกิจกรรม
ทั้งหมด เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโครงการฯ
Zero Waste to Landfill ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีปัญหาเรื่องการ
จัดการขยะไม่ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศ และด้วยภูมิประเทศที่อยู่บนดอยสูงยิ่งเป็น
29