Page 34 - Zero Waste by Envi-YRU
P. 34

อุปสรรคด้านการขนส่งที่แตกต่างจากชุมชนในพื้นที่ราบทั่วไป จากการศึกษาพบว่าขยะที่

               ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เมื่อถูกทิ้งแล้วนำไปจัดการด้วยการฝังกลบลงดิจะไม่

               กลายเป็นปุ๋ย แถมยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง เพราะบ่อขยะเกือบทั้งหมดเป็นการหมัก

               แบบไร้อากาศ เศษอาหารจะย่อยสลาย และปล่อยก๊าซมีเทนออกมา ส่งผลให้เกิดสภาวะ

               โลกร้อนรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดการ
               ขยะอย่างถูกวิธี

                       จากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง

               ฯ ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะเหลือทิ้งลงสู่บ่อฝังกลบให้

               เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)

                       จากจุดเล็ก ๆ สู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้นำร่องการ
               จัดการขยะ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น ศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการ

               สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทำจริงให้เกิดผล แล้วเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องการจัดการ

               ขยะและแปลงขยะให้เป็นรายได้ อีกทั้งใสปี 2563 ยังเริ่มขยายผลไปยังชุมชนและ

               โรงเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะ และนำขยะมาใช้เกิด

               ประโยชน์สูงสุดเบื้องหลังความสำเร็จของการแยกขยะของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ คือ
               ความร่วมมือร่วมใจกันของพนักงานทุกคนที่ปฏิบัติตามหลักการแยกขยะแบบแบ่งตาม

               การใช้ประโยชน์ เพื่อไม่ให้ขยะจำนวนมากตกเป็นภาระหนักของคนที่รออยู่ปลายทาง

               เพียงไม่กี่คน

               บทเรียนจากโครงการพัฒนาดอยตุง

                       ศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการแยกขยะที่ส่งมาจาก

               ส่วนสำนักงาน โรงงาน ห้องอาหารและขยะจากสถานที่ท่องเที่ยวภายในโครงการฯ โดย

               มีหลักการแยกขยะตามการใช้ประโยชน์ 6 ประเภท ได้แก            ่
                       1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เปลือกกาแฟเชอร์รี่ ฯลฯ จัดการ

               นำไปทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยไส้เดือน น้ำหมัก EM ผลิตอาหารของหนอนแมลงวันลาย และ

               อาหารสัตว์ ซึ่งส่วนนี้สร้างรายได้รวมกว่า 436,600 บาท/ป       ี

                       2. ขยะขายได้ เช่น แก้ว จานพลาสติก กระดาษ โลหะ ฯลฯ จัดการโดยการคัด

               แยก รวบรวมแล้วนำไปจำหน่าย
                       3. ขยะเปื้อน เช่น พลาสติกที่เปื้อนอาหาร ฯลฯ จัดการโดยนำมาล้าง ปั่นแห้ง

               แล้วนำไปจำหน่าย

                       4. ขยะพลังงาน เช่น เศษด้าย เศษกระดาษ วัสดุเหลือทิ้ง กะลาแมคคาเดเมีย

               ฯลฯ จัดการโดยนำไปเผาเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้ในโรงงาน








                                                                                                              30
   29   30   31   32   33   34   35   36   37