Page 10 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 10

7





             2.1 สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมือง

              ชื่อเรื่อง (องค์ความรู้)  เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
              ผู้เขียน/ผู้จัดท า

                     นางผการัตน์  เพ็งสวัสดิ์     นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช านาญการ
                     สังกัด ส านักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน


              สาระส าคัญ
                     เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน  หมายถึง พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล/องค์การบริหารส่วนต าบล)
              ที่มีการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมอย่างบูรณาการและสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
              บนพื้นฐานของหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ เมืองอยู่ดี คนมีสุข

              สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดี ตามบริบทของพื้นที่
                     องค์ประกอบเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
                     (1) เมืองอยู่ดี: เป็นเมืองที่ปลอดภัย เศรษฐกิจมั่นคง มีสาธารณูปโภคและสิ่งอ านวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน
              เพียงพอส าหรับทุกคน มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม

                     (2) คนมีสุข : ประชาชนมีสวัสดิการและได้รับการคุ้มครองสิทธิที่เหมาะสมและเท่าเทียม มีสุขภาพดี ได้รับ
              การศึกษา ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเอื้ออาทร มีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ด ารงประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา
              ท้องถิ่น
                     (3) สิ่งแวดล้อมยั่งยืน : มีพื้นที่สีเขียวเพียงพอ ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ภูมิทัศน์สวยงาม ของเสียหรือ

              มลพิษถูกจัดการอย่างเหมาะสม ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                        (4) เทศบาลแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการที่ดี : มีวิสัยทัศน์และแผนงานชัดเจน บุคลากรรอบรู้และ
              เชี่ยวชาญ บริหารจัดการดี มีนวัตกรรม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


              วัตถุประสงค์
                     เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
              และสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเองรวมทั้งขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองให้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

              โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

              ขั้นตอน/กระบวนการท างาน

                     1. เสริมพลังภาคีอย่างมีส่วนร่วม
                       ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและเสริมพลังภาคีเพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการเมืองสิ่งแวดล้อมตาม
                         ลักษณะของภูมิภาคเมือง

                       ส่งเสริมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด าเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ชี้วัดเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
                       ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการด าเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกระดับ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15