Page 39 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 39
38
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหามี 5 ขั้นตอน
1.1 การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement) เป็นการท าความเข้าใจกับปัญหาแล้ว
แยกแยะให้ออกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ท า เพื่อให้ได้มาซึ่งค าตอบตรงตาม
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาโปรแกรมโดยค านึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
1.2 การวิเคราะห์รูปแบบผลลัพธ์ (Output) เป็นการศึกษาถึงผลลัพธ์ที่ต้องการให้
คอมพิวเตอร์แสดงออกมา ว่ามีข้อมูลอะไรที่จะแสดง รูปแบบเป็นอย่างไร แสดงผ่านอุปกรณ์ใด เช่น
รูปแบบการแสดงผล อาจมีข้อความน าหน้าตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์ การแสดงผลทางจอภาพหรือพิมพ์
ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลน าเข้า (Input) เป็นการศึกษาถึงข้อมูลที่จะต้องน าเข้า ว่ามี
คุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะน าเข้าต้องสอดคล้องกับสิ่งที่
ต้องการ และรูปแบบผลลัพธ์ เช่น โจทย์ก าหนดว่าให้ผู้ใช้ใส่ตัวเลขคะแนนทางแป้นพิมพ์ นั่นหมายถึง
เป็นการบอกว่าข้อมูลเป็นตัวเลข และต้องพิจารณาต่ออีกว่าเป็นเลขประเภทใด จ านวนเต็มหรือ
ทศนิยม แล้วแต่ผู้ใช้เตรียมมาป้อนผ่านทางแป้นพิมพ์ หรือกรณีโจทย์ก าหนดว่าให้ผู้ใช้ใส่จ านวน
นักเรียนทางแป้นพิมพ์ ก็ต้องพิจารณาว่าข้อมูลเป็นตัวเลขไม่ใช่ตัวอักษร และเป็นตัวเลขประเภท
จ านวนเต็มเพราะความน่าจะเป็นของจ านวนนักเรียนจะเป็นเลขจ านวนเต็มไม่ใช่เลขทศนิยม เช่น
นักเรียน 10 คน เป็นต้น
1.4 การวิเคราะห์ตัวแปร (Variable) เป็นการพิจารณาชื่อที่ใช้เป็นตัวแทนถึงข้อมูลเพื่อการ
ประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ชื่อตัวแปร (Variable Name) ซึ่งการก าหนดชื่อตัวแปรต้องตรง
ตามเงื่อนไขการตั้งชื่อตัวแปรของแต่ละภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม สอดคล้องกับชนิดข้อมูลและสื่อ
ความหมายถึงข้อมูล เช่น salary แทน เงินเดือน age แทน อายุ N แทน จ านวนคน เป็นต้น
1.5 การวิเคราะห์การประมวลผล (Process) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยน าข้อมูลที่
เตรียมไว้ เข้าคอมพิวเตอร์ โดยพิจารณาวิธีการประมวลผลว่ามีวิธีการท าอย่างไร มีการค านวณหรือมี
เงื่อนไขอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการแก้ปัญหา รูปแบบผลลัพธ์ และข้อมูล
น าเข้า คอมพิวเตอร์จะท าการประมวลผลตามค าสั่งที่ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานจนกระทั่งได้ผลลัพธ์
ออกมา การประมวลผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้
- การค านวณ เช่น บวก (+) ลบ (–) คูณ (*) หาร (/)
- การเปรียบเทียบค่า เช่น มากกว่า น้อยกว่า
ตัวอย่างการประมวลผล
1. การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีวิธีการประมวลผล คือ
พื้นที่ = ความกว้าง x ความยาว
area = wide * longs
2. การหารายได้ของพนักงาน มีวิธีการประมวลผล คือ
รายได้ของพนักงาน = เงินเดือน + ค่าล่วงเวลา
income = salary + ot
3. การประเมินผลการทดสอบ มีวิธีการประมวลผล คือ
ถ้าได้คะแนนมากกว่า 60 ผลการทดสอบ “ผ่าน”
If score > 60 test = “PASS”