Page 91 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 91
90
โครงสร้างของภาษาซีแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
1) ส่วนหัวของโปรแกรม หรือส่วนประมวลผลก่อน
ส่วนหัวของโปรแกรมเรียกว่า Preprocessing Directive ใช้เพื่อบอกให้คอมไพเลอร์
กระท าการใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรมเพื่อเรียกใช้ข้อมูลจาก Library จากภาพที่ 3.1 ได้แก่ ค าสั่ง
#include <stdio.h> เป็นเฮดเดอร์ไฟล์เกี่ยวกับการจัดการ Input และ Output ส่วน #include
<conio.h> เป็นเฮดเดอร์ไฟล์เกี่ยวกับการจัดการหน้าจอ โดยเป็นการบอกกับคอมไพเลอร์ให้น าเฮด
เดอร์ไฟล์ (Header File) ที่ระบุเข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย การก าหนด Preprocessing
Directive จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
#include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> เรียกไฟล์ใน Directory ที่ก าหนดโดยคอมไพล์เลอร์
#include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” เรียกไฟล์ใน Directory ที่ท างานอยู่ในปัจจุบัน
2) ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก
ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรม
จะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกก าหนดด้วยเครื่องหมาย { (ปีก
กาเปิด)เริ่มต้นการท างานของฟังก์ชั่น และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } (ปีกกาปิด)
3) ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม
เป็นส่วนของการเขียนค าสั่งเพื่อให้โปรแกรมท างานตามที่ได้ออกแบบไว้ อยู่ระหว่าง
{ (ปีกกาเปิด) และ } (ปีกกาปิด) จากภาพที่ 3.1 ได้แก่บรรทัดที่ 5-13 โดยแต่ละค าสั่งเขียนด้วย
ตัวพิมพ์เล็กและจะต้องจบด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน (Semicolon) ;
4) หมายเหตุของโปรแกรมในภาษาซี (Comment)
คอมเมนต์ (Comment) คือส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียน
โปรแกรมใส่ข้อความอธิบายลงไปในตัวโปรแกรม หรือไม่ให้ท าการประมวลผลค าสั่งที่ต้องการละเว้น
การประมวลผล ซึ่งคอมไพเลอร์ (Compiler) จะข้ามการแปลผลในส่วนที่เป็น (Comment) โดยมีการ
เขียนได้ 2 แบบ ดังนี้
- คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย // จากภาพที่ 3.1 ได้แก่บรรทัดที่ 5
เป็นการอธิบายการท างานของฟังก์ชั่น clrscr()
- คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */ จากภาพที่ 3.1 ได้แก่
บรรทัดที่ 11-12 เป็นการบอกให้ละเว้นการประมวลผลค าสั่ง printf() ในบรรทัดที่ 11-12
1.3 กฎของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี
1) ค าสั่งในภาษา C ต้องเขียนด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก
2) ทุกประโยคเมื่อจบประโยคแล้วต้องใช้เครื่องหมาย “;” แสดงการจบประโยค
ยกเว้นฟังก์ชันที่ตามด้วย ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วย “;”
3) ในหนึ่งโปรแกรมจะมีกี่ฟังก์ชันก็ได้แต่จะต้องมีฟังก์ชันที่ชื่อ main เสมอ
4) การใส่หมายเหตุ (Comment) เพื่อใช้เป็นส่วนที่อธิบายโปรแกรมสามารถกระท า
ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
แบบที่1. // เหมาะส าหรับข้อความสั้น ๆ 1 บรรทัด โดยถ้าบรรทัดใดขึ้นต้นด้วย //
บรรทัดนั้นจะถือว่าเป็น หมายเหตุ
แบบที่2. /* และ */ ใช้ส าหรับข้อความที่ยาวกว่า 1 บรรทัด โดยโปรแกรมจะถือว่า
ข้อความที่ตามหลัง /*จะเป็นหมายเหตุจนกว่าจะพบเครื่องหมาย */ จึงจะแสดงว่าจบหมายเหตุแล้ว